กลยุทธ์ที่ 9 การพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะสูง สมบูรณ์ในทักษะทางการแพทย์และสาธารณสุข 
ทักษะบริการอย่างมืออาชีพ และมีทักษะสากล
 

มาตรการ และแนวปฏิบัติ
1.      พัฒนาโครงสร้างอัตรากำลังให้มีจำนวนเพียงพอ ตอบสนองต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตามวิสัยทัศน์ของโรงพยาบาล ลดขั้นตอนและเพิ่มประสิทธิภาพการสรรหาบุคลากร
1.1   การสรรหาและบริหารอัตรากำลังให้มีความเพียงพอต่อการขับเคลื่อนองค์กรตามวิสัยทัศน์
-       พัฒนาต่อยอดระบบบริหารจัดการบุคลากร การสรรหา/ว่าจ้างบุคลากร ให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็วและพอเพียงต่อภารกิจ โดยการกำหนดยุทธศาสตร์กรอบอัตรากำลังระยะสั้นและระยะยาว
-       วางแผนการพัฒนาอัตรากำลังสำรอง ด้วยการวางแผนการคัดเลือกบุคลากรอย่างเป็นระบบ มีการสอบขึ้นทะเบียนบุคลากรตามแผนปีละ 2 ครั้ง โดยสำรองอัตรากำลังประมาณ 2-3 เท่าของความต้องการ เพื่อให้สามารถเรียกอัตรากำลังเพื่อทดแทนหรือปฏิบัติงานได้ทันท่วงที
-       พัฒนาต่อยอดระบบทดแทนอัตรากำลังและการประกันการขาดอัตรากำลัง ให้สามารถมีบุคลากรทดแทนภายในระยะเวลา 15 วันทำการ โดยใช้กระบวนการ Lean มาพัฒนา ขั้นตอนการสรรหา/ว่าจ้างทดแทนบุคลากร
1.2   การกำหนดลักษณะงาน (Job Description) และคุณลักษณะจำเพาะของบุคลากรทุกตำแหน่ง (Job Specification) ให้มีความชัดเจน สามารถนำมาต่อยอดสู่การเสริมสร้างสมรรถนะให้มีความเหมาะสมและเชี่ยวชาญเฉพาะทาง รองรับการเติบโตสู่องค์กรสมรรถนะสูง
1.3   ส่งเสริมการคงอยู่ของอัตรากำลัง โดยเฉพาะกลุ่มวิชาชีพเฉพาะทางและกลุ่มวิชาชีพที่มีองค์ความรู้จำเพาะ
-       สร้างแรงจูงใจในการสรรหาและการคงอยู่ของบุคลากรด้วยหลักธรรมาภิบาล
-       ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพตามลักษณะงาน การพิจารณาความก้าวหน้าและการเข้าสู่ตำแหน่งอย่างโปร่งใสตามหลักเกณฑ์
-       กำหนดความก้าวหน้าในวิชาชีพของบุคลากรทางการแพทย์ (career path) ของทุกระดับ
-       พิจารณาให้ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่สูงกว่าค่าตอบแทนพื้นฐานภาครัฐ โดยอ้างอิงกับผลสัมฤทธิ์ของงาน ภายใต้ระเบียบปฏิบัติของโรงพยาบาล
 
 
2.      พัฒนาสมรรถนะบุคลากรให้มีความพร้อมทั้งด้านการบริการทางการแพทย์ ทักษะบริการอย่างมืออาชีพ ทักษะสากล และแนวคิดด้านคุณธรรม
2.1   การบริหารจัดการด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ
-       ปรับรูปแบบคณะกรรมการด้านทรัพยากรบุคคลให้มีความคล่องตัวสูง ดำเนินงานแบบบูรณาการในการวางแผน ติดตามและกำกับการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคลตามหลักธรรมาภิบาล
-       จัดทำแผนการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ทุกตำแหน่งและทุกวิชาชีพให้ครอบคลุมทุกสาขา ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ติดตามและปรับแผนการพัฒนาทรัพยากรบุคลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายในและภายนอกโรงพยาบาลอย่างเป็นปัจจุบัน
-       พัฒนาระบบการพิจารณาคัดเลือกบุคลากร การสอบสัมภาษณ์ และการเตรียมความพร้อมบุคลากรในการเข้ารับการพัฒนาศักยภาพ ในรูปแบบการดำเนินงานของคณะกรรมการที่บูรณาการการทำงานร่วมกัน
2.2   พัฒนาสมรรถนะบุคลากรให้มีความพร้อมในการขับเคลื่อนองค์กรตามวิสัยทัศน์
-       กำหนดสมรรถนะหลักของบุคลากร(Competency) ให้สอดคล้องกับลักษณะงาน (Job Description) เพื่อบรรลุเป้าหมายในแต่ละกลยุทธ์ ตอบรับการขยายขอบเขตบริการตามภารกิจในปัจจุบันและอนาคต
-       พัฒนาทักษะและสมรรถนะบุคลากรทุกวิชาชีพให้มีความพร้อมด้านการแพทย์ ตอบรับการเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ โดยกำหนดแผนการฝึกอบรมทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาล พัฒนาความร่วมมือกับเครือข่ายโรงพยาบาล เช่น โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ เป็นต้น
-       พัฒนาสมรรถนะรายบุคคลให้มีความพร้อมทั้งด้านทักษะบริการอย่างมืออาชีพ แนวคิดด้านคุณธรรม และทักษะสากล เช่น ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ การจัดการ วัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่นและวัฒนธรรมสากล เป็นต้น เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน โดยพัฒนาความร่วมมือกับเครือข่ายมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช และสถาบันการศึกษาในเขตพื้นที่
-       ตามยุทธศาสตร์ของเป็นหลักสูตร เร่งด่วน และการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศของโรงพยาบาลเป็นหลักสูตร ระยะยาว
 
 
 
3.      พัฒนาต่อยอดมาตรฐานการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะบุคลากรในเครือข่ายสุขภาพ โดยอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในการพัฒนาการฝึกอบรมร่วมกัน จนเกิดเป็นองค์ความรู้ที่เป็นที่ยอมรับจากภายนอกโรงพยาบาล
3.1     พัฒนาหน่วยงานและคณะกรรรมการด้านการฝึกอบรมและการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรอย่างเป็นระบบ และมีความสามารถเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
-       พัฒนาศักยภาพบุคลากรภายในโรงพยาบาลให้เป็นกระบวนกร/วิทยากรที่มีความรู้ ความสามารถในการถ่ายทอดกิจกรรมและมีองค์ความรู้เป็นที่ยอมรับจากภายนอกโรงพยาบาล
-       บูรณาการกระบวนกร/วิทยากรของโรงพยาบาลจนเกิดองค์ความรู้ที่เป็นอัตลักษณ์ของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม
-       จัดตั้งคณะกรรมการหรือหน่วยงานที่บริหารจัดการการฝึกอบรมภายในโรงพยาบาลและเครือข่ายอย่างเป็นระบบ มีการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงในกลุ่มเป้าหมาย ติดตามและประเมินผลการอบรมอย่างมีประสิทธิภาพ
3.2     พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมบุคลากรภายในโรงพยาบาล โดยอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในการพัฒนาการฝึกอบรมร่วมกัน
-       กำหนดหลักสูตรการฝึกอบรมสมรรถนะทางการแพทย์ที่สำคัญ เช่น ACLS, ATLS, NCPR ในทุกหน่วยงาน กำหนดให้แต่ละสาขามีหลักสูตรอบรม อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อยกระดับการบริการทางการแพทย์ที่มีมาตรฐาน
-       กำหนดหลักสูตรการฝึกอบรมทักษะด้านการบริหารและการจัดการ เช่น ความรู้ด้านระเบียบราชการ, หลักสูตรสำหรับผู้บริหารทุกระดับ (ระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูง) เพื่อตอบรับการเป็นองค์กรธรรมมาภิบาลและสมรรถนะสูง
-       กำหนดหลักสูตรการฝึกอบรมด้านจิตบริการ ทักษะบริการอย่างมืออาชีพและแนวคิดด้านคุณธรรม เช่น จิตวิวัฒน์และสุนทรียสนทนา, รักเหนือรักในระดับศีล5, หลักสูตร ESB, เพื่อมุ่งสู่การเป็นโรงพยาบาลคุณธรรมและเป็นมิตรกับผู้รับบริการ
-       กำหนดหลักสูตรการฝึกอบรมทักษะสากล เช่น หลักสูตรภาษาอังกฤษ, การใช้คอมพิวเตอร์, สารสนเทศ, การศึกษาวัฒนธรรม เพื่อการเป็นโรงพยาบาลทันสมัยและตอบรับการก้าวสู่ความเป็นสากล
3.3     พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมบุคลากรภายในเครือข่ายสุขภาพ
-       จัดตั้งคณะกรรมการหรือหน่วยงานที่บริหารจัดการการฝึกอบรมระหว่างหน่วยงานในเครือข่ายสุขภาพและชุมชนอย่างเป็นระบบ มีการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงในกลุ่มเป้าหมาย ติดตามและประเมินผลการอบรมอย่างมีประสิทธิภาพ
-       ต่อยอดขยายการฝึกอบรมภายในโรงพยาบาลไปยังหน่วยงานในเครือข่ายสุขภาพและชุมชน เช่น รพ.สต. รพช. อสม. ผู้นำชุมชน เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงศักยภาพและระบบบริการ
-       พัฒนาการฝึกอบรมหลักสูตรเฉพาะที่เป็นความต้องการของเครือข่าย เช่น การฟื้นฟูความรู้หน่วยกู้ชีพ, การพัฒนาศักยภาพบุคลากรใน รพ.สต. รพช. อสม. เป็นต้น
3.4     จัดทำมาตรฐานการฝึกอบรม และมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง มีการสอบประเมินสมรรถนะทุกปี โดยการประสานความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา หรือสถาบันอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น การมี CNEU  ของสภาการพยาบาล
3.5     สร้างสรรค์ความเป็นเลิศของบุคลากรผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น สร้างระบบ Data center E-Learning, สร้างระบบ E-Learning ผ่าน Internet, สร้างระบบสอบวัดความรู้และทักษะของบุคลากรทุกระดับ ทาง Internet
 
4.      พัฒนาโครงสร้างอัตรากำลังในกลุ่มวิชาชีพสำคัญ รองรับการขยายบริการสู่การเป็นโรงพยาบาลตติยภูมิ ให้บริการเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา
-       พัฒนากระบวนการเพื่อเข้าสู่กระบวนการรับรองการเป็นศูนย์ฝึกอบรมแพทย์เพิ่มพูนทักษะ พัฒนาอัตรากำลังแพทย์ทั่วไป แพทย์ใช้ทุนให้เพียงพอต่อการบริการ
-       พัฒนาอัตรากำลังของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเพื่อรองรับการพัฒนากลุ่มภารกิจด้านบริการปฐมภูมิ
-       พัฒนาแพทย์เฉพาะทางสาขาหลักและสาขารอง เพิ่มอัตรากำลังและสมรรถนะรองรับการเป็นโรงพยาบาลตติยภูมิ ภายในระยะเวลา 5 ปี
-       พัฒนาพยาบาลเฉพาะทางตอบสนองการพัฒนาทางยุทธศาสตร์ในทุกกลุ่มภารกิจ ทั่งด้านอัตรากำลังและสมรรถนะ ภายในระยะเวลา 5 ปี
-       พัฒนาอัตรากำลังและสมรรถนะของวิชาชีพทั่วไปและวิชาชีพเฉพาะทาง ให้เพียงพอต่อการบริการการพัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์
-       พัฒนาอัตรากำลังและสมรรถนะของบุคลากรสายสนับสนุน ให้เพียงพอต่อการบริการการพัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์
-       พัฒนาอัตรากำลังและสมรรถนะของบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน เพื่อพัฒนาโรงพยาบาลการแพทย์ผสมผสานคู่ขนานกับโรงพยาบาลหลัก
 
นโยบายและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม ปี ๒๕๕๙ - ๒๕๖๐