กลยุทธ์ที่ 7 พัฒนาการจัดการสุขภาพเชื่อมโยงบริการระบบสารสนเทศสุขภาพและการใช้
ทรัพยากรทางสุขภาพร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงในการลดปัญหาการเจ็บป่วย
ด้วยโรคสำคัญของอำเภอเดชอุดม
 
มาตรการและการแก้ไข
1.       พัฒนาระบบสารสนเทศทางการแพทย์ ให้มีเสถียรภาพ รวดเร็ว ปลอดภัย ตอบสนองการบริการช่วยลดขั้นตอนการบริการและการบริหารข้อมูล
-       ศึกษาวิเคราะห์ความจำเป็นในการใช้โปรแกรม เช่น Microsoft Office,Anti-virus,HosXP เป็นต้น เพื่อการพัฒนาการใช้งานให้ทันสมัย เป็น version ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด
-       กำหนดแผนการขยายงานและสำรวจความเพียงพอของครุภัณฑ์และระบบปฏิบัติการด้านสารสนเทศ ให้เพียงพอ พร้อมใช้ รวมถึงการจัดสรรทดแทน โดยเรียงระดับความสำคัญ มุ่งเน้นหน่วยงานที่จัดบริการสุขภาพแก่ประชาชน
-       พัฒนาความมั่นคงและรวดเร็วของระบบข้อมูลสารสนเทศ โดยพัฒนาระบบ Server ให้เพียงพอ พร้อมใช้ ปลอดภัยรวดเร็ว  โดยมีอัตราส่วนการใช้งานประมาณ 150-200 จุดใช้งาน ต่อ 1 serverและแยกระบบ Server งานบริการผู้ป่วยออกจากการการใช้งานส่วนอื่น 
-       พัฒนาความปลอดภัยข้อมูลตามมาตรฐาน ISO/IEC27001 ซึ่งเป็นข้อกำหนดสำหรับการพัฒนาระบบบริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information security management system, ITSM) เพื่อสร้างความมั่นใจถึงความมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพของความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศขององค์กร รวมถึงการดำเนินการที่สอดคล้องตามข้อกำหนดด้านระบบความมั่นคงปลอดภัยทั้งของลูกค้า ข้อกฎหมาย และ ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
 
2.       สร้างการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศในทุกหน่วยบริการของเครือข่ายสุขภาพ
-       พัฒนาเชื่อมโยงข้อมูลในระดับเครือข่าย ผ่านโปรแกรม HosWias กระตุ้นให้เกิดการนำเข้าข้อมูลสู่ฐานข้อมูลกลางอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยความร่วมมือผ่านที่ประชุม Cup Board
-       พัฒนาระบบสารสนเทศทางสุขภาพมุ่งเน้นโรคที่เป็นปัญหาของพื้นที่ เช่น โรคเรื้อรัง, โรคมะเร็ง และอุบัติเหตุ โดยให้รพ.สต.แต่ละแห่ง ส่งต่อข้อมูลโดย Hosxpcu และมีการเชื่อมโยงข้อมูลภายในเครือข่ายกับ Hosxp, HosWais
-       พัฒนาระบบการบันทึกและตรวจสอบคุณภาพข้อมูลพื้นฐานการบริการเครือข่าย (ข้อมูล 53 แฟ้ม) ให้มีประสิทธิภาพ โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการจัดการ
 
3.       พัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้บุคลากลทุกระดับมีความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการให้บริการและการบริหารข้อมูล
-       กำหนดให้ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นความสามารถพื้นฐานของบุคลากรทุกระดับ โดยจัดกิจกรรมอบรมความรู้ด้านสารสนเทศและการใช้โปรแกรมพื้นฐาน อย่างต่อเนื่อง ให้กับบุคลากรใหม่และบุคลากรที่ต้องการฟื้นฟูความรู้
-       จัดพื้นที่บริการด้านสารสนเทศให้กับบุคลากรเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงองค์ความรู้ที่ทันสมัย (ร่วมกับกลยุทธ์ที่ 12)
-       ประสานความร่วมมือเครือข่ายในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านภาษาและสารสนเทศ สร้างความร่วมมือด้านวิทยากรและจิตอาสาจากสถานศึกษา เพื่อร่วมพัฒนาศักยภาพบุคลากร
 
4.       พัฒนาระบบการบริหารจัดการด้านทรัพยากรของโรงพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล
4.1   การพิจารณาคัดเลือกพัสดุครุภัณฑ์ตามหลักธรรมาภิบาล
-       แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกและต่อรอง วัสดุและครุภัณฑ์ทุกประเภท อย่างโปร่งใส ตามระเบียบราชการ
-       กำหนดเวทีการคัดเลือกวัสดุและครุภัณฑ์อย่างเปิดเผย เปิดโอกาสให้ผู้จำหน่ายสามารถมาเสนอสินค้าเพื่อให้กรรมการคัดเลือกได้อย่างอิสระ
-       ศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลราคาของวัสดุครุภัณฑ์ในปีที่ผ่านมา เปรียบเทียบคุณสมบัติและราคากับหน่วยงานที่มีขนาดใกล้เคียงกัน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณาตัดสินใจเลือกซื้อวัสดุครุภัณฑ์
4.2   การบริหารจัดการพัสดุครุภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพ
-       พัฒนาระบบการบริหารการคลังอย่างมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีด้านการจัดการและสารสนเทศที่ทันสมัยให้มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน เช่น การใช้แถบรหัส (Barcode) ในการควบคุมการเบิกจ่ายพัสดุ
-       พัฒนาการบริหารจัดการคลังเวชภัณฑ์ให้เหมาะสม ไม่มีเวชภัณฑ์คงค้างและหมดอายุ โดยเฉพาะกลุ่มเวชภัณฑ์ราคาสูง
-       พัฒนาการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรให้สอดคล้องกับภาระงาน ลดต้นทุนในการดำเนินงานโดยไม่กระทบต่อมาตรฐาน เป้าหมายลดต้นทุนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10 ต่อปี
-       กำหนดแผนการใช้วัสดุสิ้นเปลืองโดยอ้างอิงเปรียบเทียบกับข้อมูลปริมาณการใช้วัสดุสิ้นเปลืองและการให้บริการในรอบปีที่ผ่าน
4.3   การบริหารจัดการต้นทุนการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาแนวทางการลดต้นทุนการให้บริการเฉลี่ยโดยไม่กระทบต่อมาตรฐานการให้บริการ
-       พัฒนากระบวนการสอบทานข้อมูลการเบิกจ่าย,รายได้ทุกประเภทและระบบคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสอบทานกับระบบบัญชีทางการเงินของหน่วยงานอย่างต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยีด้านการจัดการและสารสนเทศที่ทันสมัย
-       ทบทวนต้นทุนการให้บริการ (Unit Cost) อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนการให้บริการกับมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดไว้เบื้องต้น เปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาและเปรียบเทียบกับโรงพยาบาลที่มีขนาดใกล้เคียงกัน เพื่อหาโอกาสพัฒนา
5.       พัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากร เวชภัณฑ์และครุภัณฑ์ทางการแพทย์ให้เกิดการหมุนเวียนภายในโรงพยาบาลและเครือข่าย เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบวนการรักษาและให้บริการ นำมาซึ่งผลการดำเนินงานที่ดี
-       จัดตั้ง “ศูนย์เครื่องมือแพทย์โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม” เพื่อบริหารจัดการครุภัณฑ์ทางการแพทย์ภายในโรงพยาบาลให้เกิดการหมุนเวียนก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในกระบวนการรักษา มีกระบวนการสอบเทียบและวางแผนการพัฒนาด้านครุภัณฑ์ทางการแพทย์อย่างเป็นระบบ
-       จัดตั้ง “ศูนย์บริหารงานเครื่องมือแพทย์เครือข่ายเดชอุดม” เพื่อบริหารจัดการด้านเครื่องมือแพทย์ของเครือข่ายบริการให้มีประสิทธิภาพ (ร่วมกับกลยุทธ์ที่ 6)
-       พัฒนาความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรสุขภาพที่มีการลงทุนสูงร่วมกัน เช่น ระบบการกำจัดขยะติดเชื้อ, ระบบการทำเครื่องมือปลอดเชื้อ เป็นต้น
นโยบายและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม ปี ๒๕๕๙ - ๒๕๖๐