กลยุทธ์ที่ 3 มุ่งแก้ปัญหาสุขภาพที่สำคัญและป้องกันได้ของทุกกลุ่มวัยในทุกชุมชนให้ลดลงด้วยสร้างระบบสุขภาพแบบมีส่วนร่วม
 


มาตรการ และแนวปฏิบัติ
1.     พัฒนาระบบบริการทั้งปฐมภูมิ ทุติยภูมิและตติยภูมิ ผสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายภาคสังคม ครอบครัวและชุมชนแบบบูรณาการ เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพในทุกกลุ่มวัยแบบมีส่วนร่วม ดังนี้ 
 
1.1     กลุ่มมารดา ทารกและเด็กปฐมวัย (0-5ปี)
-       บูรณาการเชื่อมโยงบริการเข้ากับ ศูนย์บริการอนามัยแม่และเด็กเดชอุดม (Detudom Maternal & Child Health Center: DMCH) เพื่อประสานการดูแลอย่างต่อเนื่องในทุกระดับให้มีความปลอดภัยไร้รอยต่อ จนเกิดความเชื่อมั่นและวางใจในการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ มารดา ทารกและเด็กปฐมวัย
-       พัฒนาศักยภาพการให้บริการอนามัยแม่และเด็กของเจ้าหน้าที่และสถานบริการทุกระดับ โดย ส่งเสริมการดูแลตนเองที่ถูกต้องของหญิงตั้งครรภ์ มารดาและทารกโดยครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม ผ่านการให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ จนเกิดเป็นวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ มารดาและทารกอย่างยั่งยืน
-       พัฒนาศักยภาพและคุณภาพการดูแลกลุ่ม High Risk Pregnancy, Extreme Age Pregnancy โดยเพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการและมีรูปแบบบริการที่ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
-       พัฒนามาตรฐานการดูแลด้านพัฒนาการในทารกและเด็กปฐมวัย อายุ 0-5ปี มุ่งเน้นส่งเสริมการเลี้ยงดูเด็กให้มีพัฒนาการสมวัยด้านร่างกาย อารมณ์ พัฒนาการทางสมองและสติปัญญา (IQ & EQ) โดยครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม
-       การสร้างครอบครัวต้นแบบ ในชุมชน
 
1.2     กลุ่มวัยเรียน (5-4ปี)
-       โรงเรียนกลุ่มเสี่ยงด้านการบริโภค (โภชนาการเกินเกณฑ์) PB
-       ทำมาตรฐาน/ Healthy School โดยการบูรณาการงาน/ทีมที่ทำงานในโรงเรียน 
-       พัฒนาเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเครือข่ายผู้ปกครอง ครูอนามัย อปท. ผู้นำอายุน้อย และ อสร. ให้มีความเชี่ยวชาญการทำกิจกรรมสุขภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาโภชนาการ (School healthy Team)
-       สร้างโรงเรียน/ชุมชน Healthy School (1 โรงเรียน/รพ.สต.)
1.3   กลุ่มวัยรุ่น (อายุ 15-21 ปี)
-       ประสานความร่วมมือด้านวิชาการและสนับสนุนบริการจากโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ในการจัดการปัญหาในกลุ่มวัยรุ่น
-       มุ่งเน้นการจัดการปัญหาไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่นและการจัดการภัยคุกคามในชุมชนและสถานศึกษา เช่น ปัญหาเด็กติดเกม การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวันอันควร บุหรี่และสารเสพติด โดยประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายชุมชน ครอบครัว ผู้ปกครอง เพื่อแก้ไขปัญหาแบบมีส่วนร่วม
-       มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาตั้งครรภ์ในวัยรุ่น(Teenage Pregnancy) โดยร่วมมือกับเครือข่ายสถานศึกษา สถานบริการภาคเอกชนและเครือข่ายจิตอาสาในการดำเนินงานเรื่องทักษะชีวิตวัยรุ่น ส่งเสริมกิจกรรมการแสดงออกของวัยรุ่นในกิจกรรมที่เหมาะสมภายในชุมชนและสถานศึกษา
 
1.4   กลุ่มวัยทำงาน (อายุ 15-59 ปี)
-       ส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองของกลุ่มผู้ป่วยในระบบบริการสุขภาพพื้นฐานของสถานบริการภาครัฐและสถานบริการระดับพื้นที่ร่วมกับชุมชน
-       ลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ถุงลมโป่งพอง 
โรคไต โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ
-       เสริมสร้างค่านิยมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในประชาชนวัยทำงาน มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และกลุ่มเสี่ยงแรงงานนอกระบบตามปัจจัยเสี่ยงในการประกอบอาชีพร่วมกับสถานประกอบการภาครัฐและเอกชน
-       สนับสนุนสถานประกอบการ/สถานที่ทำงานที่มีความเสี่ยงให้มีการดูแลสุขภาพคนทำงานตามเกณฑ์สถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข แนวทางการจัดบริการอาชีวอนามัยครบวงจรสำหรับสถานประกอบการ
-       เฝ้าระวัง  ป้องกัน  ควบคุมโรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจรในกลุ่มเสี่ยง  ได้แก่  กลุ่มอาชีพเกษตรและกลุ่มอาชีพที่ทำงานเกี่ยวกับการจัดเก็บคัดแยกขยะ
 
1.5     กลุ่มวัยผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) และผู้พิการ
-       การส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการโดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรในครอบครัวและชุมชน โดยอาศัยกิจกรรมทางศาสนาของวัด กิจกรรมในชุมชนโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ดำเนินการอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง
-       จัดบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการในกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง โดยครอบครัว ชุมชนและกลุ่มจิตอาสาเข้ามามีส่วนร่วม
-       เพิ่มจำนวนและศักยภาพของบุคลากร ทั้งระดับครอบครัว บุคลากรระดับท้องถิ่น กลุ่มจิตอาสา เครือข่ายผู้นำผู้สูงอายุ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ดูแลกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่
-       จัดบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยสูงอายุและผู้พิการที่มีภาวะโรคแทรกซ้อน และจำเป็นต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคองให้เข้าถึงบริการได้อย่างเหมาะสม
 
1.6     ลดปัญหาสุขภาพที่สำคัญที่เป็นสาเหตุการเจ็บและป่วยตายในพื้นที่  เช่น โรคมะเร็ง ไข้เลือดออก  และอุบัติเหตุ โดย
-       สร้างกระแสความตระหนักถึงอันตราย การป้องกันและเฝ้าระวังของโรคสำคัญที่เป็นปัญหาของพื้นที่ผ่านการสื่อสารสาธารณะ ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการสร้างจิตอาสาและสื่อมวลชนรุ่นใหม่ในการเผยแพร่ความรู้และสุขศึกษา
-       พัฒนาศักยภาพ สมรรถนะและความร่วมมือที่เข้มแข็งของเครือข่ายในการบูรณาการทำงานเพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยและร่วมป้องกันเฝ้าระวังในสถานการณ์โรคที่สำคัญ
-       เสริมสร้างศักยภาพและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยและญาติ ให้สามารถพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพได้เป้นอย่างดี
-       เสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชนด้านสุขภาพ สร้างมาตรการทางสังคม ธรรมนูญภัยสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมกับภาคีชุมชน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมการเจ็บป่วยและเสียชีวิตในกลุ่มโรคสำคัญ
 
2.     สร้างชุมชนสุขภาวะต้นแบบ มุ่งเน้นการดูแลอย่างมีส่วนร่วมระหว่างกลุ่มวัย จนเป็นแบบอย่างให้กับพื้นที่บริการ
-       จัดกิจกรรมสานสัมพันธภาพระหว่างกลุ่มวัย ทำให้เกิดการดูแลกันและกันอย่างต่อเนื่องในชุมชน ลดช่องว่างระหว่างวัย เช่น จิตอาสาวัยรุ่นเข้าร่วมดูแลผู้สูงวัย กิจกรรมสร้างสรรค์วัยรุ่นกับกลุ่มผู้ปกครอง กลุ่มผู้สูงอายุให้คำแนะนำมารดาหลังคลอด เป็นต้น
-       จัดตั้งศูนย์บริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ/ผู้พิการในชุมชน (Community Health & Long Term Care: CHLC) มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม สิ่งแวดล้อม การดูแลปัญหาสุขภาพ แบบผสมผสานภูมิปัญญาและปราชญ์ชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูและป้องกันความเสื่อมถอยของสุขภาพอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างกลุ่มวัยและภาคีเครือข่ายชุมชน
-       สร้างกลุ่มผู้สูงอายุสุขภาวะดีต้นแบบระดับอำเภอเดชอุดม เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและเป็นแกนนำในการจัดการปัญหาสุขภาพ
-       พัฒนาศักยภาพผู้พิการเพื่อเป็นผู้นำเครือข่ายกลุ่มผู้พิการระดับตำบลให้ครอบคลุมทุกตำบล
-       พัฒนาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ให้เอื้อต่อการสร้างสุขภาพที่ดี โดยร่วมกับเครือข่ายบริการสุขภาพในการดำเนินการควบคุมกำกับปัจจัยคุกคามทางสุขภาพและเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองผู้บริโภคและจัดการปัจจัยเสี่ยง
-       การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมและภัยคุกคามทางสุขภาพของพื้นที่บริการของโรงพยาบาล โดยบูรณาการร่วมกับชุมชน ท้องถิ่นและภาคีเครือข่าย พร้อมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้ท้องถิ่นร่วมกำหนดระเบียบเพื่อการจัดการสภาพแวดล้อม
 
3.     พัฒนาระบบการจัดการข้อมูลสุขภาพทั้งชุมชนและเครือข่ายให้มีความเชื่อมโยงแบบไร้รอยต่อและมีความปลอดภัยด้านสานสนเทศ โดย
-       พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพให้มีความต่อเนื่อง แม่นยำ เป็นปัจจุบัน ทั่วถึงทั้งเครือข่าย และการเข้าถึงข้อมูลมีความปลอดภัยตามมาตรฐานด้านสารสนเทศ
-       พัฒนาการบริหารจัดการและศักยภาพเพื่อสนับสนุนและขับเคลื่อนนโยบายเครือข่ายหมอครอบครัว
นโยบายและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม ปี ๒๕๕๙ - ๒๕๖๐