กลยุทธ์ที่ 2 เสริมสร้างความร่วมมือของโรงพยาบาลและเครือข่ายสุขภาพร่วมปฏิรูประบบบริการ
ทางแพทย์แบบไร้รอยต่อ ปลอดภัย ที่ผู้ใช้บริการเชื่อมั่นและไว้วางใจ
 
มาตรการ และแนวปฏิบัติ
            พัฒนาการเชื่อมต่อระบบบริการภายในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม หน่วยบริการในเครือข่าย และโรงพยาบาลในระดับสูง ผ่านศูนย์ประสานการส่งต่อที่เชื่อมโยงด้านการส่งต่อการรักษา สารสนเทศทางการแพทย์  ให้มีความต่อเนื่อง นำมาซึ่งประสิทธิภาพการรักษาที่ดีและลดขั้นตอนการรับบริการ มุ่งเน้นการพัฒนา ดังต่อไปนี้
1.      พัฒนา Detudom Medical Network เพื่อประสานระบบบริการ การให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ ระบบการรับส่งต่อผู้ป่วย (Refer in/Refer out) และการดูแลต่อเนื่องแบบบูรณาการ ประสานบริการเชื่อมต่อกับหน่วยบริการสาธารณสุขทั้งในและนอกเขตสุขภาพที่ 10 โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออำนวยความสะดวกในการประสานบริการแบบปลอดภัยไร้รอยต่อ (Seamless One & Safety) มีแนวทางดำเนินการ ดังนี้
1.1    จัดตั้ง Detudom Medical Network Center ซึ่งเป็นหน่วยงานบูรณาการเชื่อมประสานบริการของเครือข่าย มีบทบาทหน้าที่
-       อำนวยการด้านการประสานระบบบริการในเครือข่าย ผ่านหน่วยประสานงานย่อย คือ หน่วยประสานการรักษาผู้ป่วยทั่วไป (ONRU), หน่วยประสานการรักษาผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน (TERU) และหน่วยประสานการดูแลต่อเนื่อง (COC)
-       ติดตามตัวชี้วัดด้านการส่งต่อระหว่างหน่วยบริการในเครือข่าย
-       ติดตามผลการรักษาของผู้ป่วยที่ส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่ศักยภาพสูงกว่า เช่น โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์, โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี
-       บริหารอัตรากำลังให้หมุนเวียนปฏิบัติงานในหน่วยประสานบริการทั้งหมด โดยพัฒนาอัตรากำลังพยาบาลวิชาชีพประจำศูนย์ 3-5 คน ภายในปี 2560
-       เป็นศูนย์กลางการประสานงานด้านข่าวสารบริการเครือข่ายกับ รพ.สต./ อปท./ รพช./ รพศ. และหน่วยบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ ผ่านช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย เช่น โทรสาร โทรศัพท์ และ Social Network
-       บริหารจัดการการรับผู้ป่วยในสามัญและพิเศษ ผ่านศูนย์รับผู้ป่วยใน (Admission Center) เพื่ออำนวยความสะดวกและมีการบริหารจัดการเตียงผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ
 
 
1.2    จัดตั้งหน่วยประสานงานการรักษาผู้ป่วยทั่วไป(OPD-NCD Referral Unit: ONRU) เพื่อพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยทั่วไปในเครือข่ายและโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูง เช่น โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์, โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี มีบทบาทหน้าที่
-          ประสานการส่งต่อผู้ป่วยทั่วไปไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า โดยประสานการนัดหมายล่วงหน้าที่เหมาะสม อำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยในหลักการของ First Visit First Treatment/Investigation
-          กำหนดแนวทางการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยและข้อมูลการรักษาที่ครบถ้วนร่วมกับโรงพยาบาลแม่ข่าย เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการส่งต่อ
-          ร่วมพัฒนาแนวทางการส่งต่อและการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยให้กับโรงพยาบาลชุมชนลูกข่าย เพื่อเตรียมความพร้อม กำหนดนัดหมาย อำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยในหลักการของ First Visit First Treatment/Investigation
-          เชื่อมโยงการส่งต่อและการตอบกลับข้อมูลการรักษาที่รวดเร็ว ทั้งจากในโรงพยาบาลลูกข่าย และโรงพยาบาลในระดับสูงกว่า ที่มีความปลอดภัยตามมาตรฐานด้านสารสนเทศ
1.3    จัดตั้งหน่วยประสานการรักษาผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน (Trauma & Emergency Referral Unit: TERU) พัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยอุบัติเหตุ/ฉุกเฉินไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูง ทั้งในและนอกเวลาราชการ มีบทบาทหน้าที่
(ร่วมกับ กลยุทธ์ที่ 1, ศูนย์การดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน TEMC)
-          ประสานการส่งต่อผู้ป่วยวิกฤติไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า เพื่อให้มีการตอบสนองต่อผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว
-          เตรียมความพร้อมผู้ป่วยและข้อมูลการรักษาที่ครบถ้วน เพื่อประสานงานโรงพยาบาลปลายทาง
-          บริหารจัดการระบบการส่งต่อในภาวะวิกฤติ อัตรากำลังที่เหมาะสมในการส่งต่อ
-          ควบคุมคุณภาพการส่งต่อจากเครือข่ายและคุณภาพส่งต่อไปยังแม่ข่าย ลดอัตราการเสียชีวิตหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่านำส่ง
1.4    จัดตั้งศูนย์การดูแลต่อเนื่อง (COC) ภายใต้การกำกับดูแลของกลุ่มภารกิจบริการปฐมภูมิ บูรณาการประสานบริการร่วมกับ Detudom Medical Network Center เพื่อพัฒนาการดูแลต่อเนื่องกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในเขตพื้นที่บริการ มีบทบาทหน้าที่
-          ประสานการดูแลต่อเนื่องระหว่างการบริการตติยภูมิในโรงพยาบาลกับการบริการปฐมภูมิที่ รพ.สต.และชุมชน โดยทีมหมอครอบครัว
-          อำนวยความสะดวกด้านบริการสนับสนุนทางการแพทย์สำหรับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในเขตพื้นที่บริการ
-          พัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อเชื่อมโยงการส่งและการตอบกลับข้อมูลการรักษาจากในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลูกข่าย และมีความปลอดภัยตามมาตรฐานด้านสารสนเทศ
 
2.      พัฒนาระบบบริการแบบปลอดภัย ไร้รอยต่อภายในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม ลดขั้นตอนและระยะเวลารอคอยการบริการ สร้างความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ และทำให้บุคลากรมีความสุขในการให้บริการ
-          พัฒนาระบบสารสนเทศ เชื่อมโยงข้อมูลการรักษาภายในโรงพยาบาลที่มีความปลอดภัยตามมาตรฐานด้านสารสนเทศ ลดความผิดพลาดซ้ำซ้อนของข้อมูล
-          นำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย มาช่วยลดขั้นตอนการบริการให้มีความรวดเร็ว ถูกต้อง เหมาะสม ตอบรับความต้องการของผู้รับบริการ สร้างความเชื่อมั่นและพึงพอใจ
-          สร้างวัฒนธรรมการการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมโดยสหวิชาชีพอย่างเป็นรูปธรรม มีการสื่อสารระหว่างหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน เช่น การสื่อสารด้วยระบบ SBAR, การดูผู้ป่วยแบบสหวิชาชีพร่วมกันข้างเตียง, การทบทวนวิชาการแบบสหวิชาชีพ
-          สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย (Patient safety Culture) ในการให้บริการทั้งต่อผู้ให้บริการและผู้รับบริการ โดยมีแนวทางการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
 
3.      พัฒนาระบบบริการช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉิน (Emergency Fast Track) ในกลุ่มโรคสำคัญ มุ่งเน้นการเข้าถึงบริการที่รวดเร็ว สามารถเชื่อมประสานการดูแลตั้งแต่จุดเกิดเหตุจนถึงการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่รวดเร็วและปลอดภัย
-          พัฒนาระบบ Emergency Fast Track อย่างต่อเนื่อง มีช่องทางด่วนระหว่างหน่วยงานในโรงพยาบาลที่ทั่วถึงและครอบคลุม
-          เน้นย้ำความสำคัญในการให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินและวิกฤติ ด้วยการปฏิบัติตามแนวทางการบริการช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉิน (Emergency Fast Track) อย่างเคร่งครัดและติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
-          พัฒนาขยายระบบ Emergency Fast Track ไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) และโรงพยาบาลชุมชนลูกข่าย(รพช.) ให้มีความต่อเนื่อง ครอบคลุม สามารถคัดกรองและนำส่งผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย พัฒนาความสัมพันธ์พี่น้องเครือข่าย เพื่อให้เกิดการบริการร่วมกันของเครือข่ายสุขภาพอย่างปลอดภัยไร้รอยต่อ มีแนวทางการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน มีความรู้ความเข้าใจและสัมพันธภาพอันดีในระหว่างหน่วยบริการ
-          พัฒนาความร่วมมือผ่านโครงการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างโรงพยาบาล โดยออกเยี่ยมแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็นของโรงพยาบาลชุมชนลูกข่าย สร้างความคุ้นเคยและความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยร่วมกัน อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
-          สร้างเครือข่ายการส่งต่อโดยอาศัยความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆเช่น ตำรวจ วิทยุชุมชน บริษัทประกันชีวิต เพื่อการส่งต่อที่รวดเร็ว
-          พัฒนาต่อยอดการจัดบริการร่วมกับเครือข่าย โดยทีมนิเทศแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายใน คปสอ.และภายในเครือข่ายบริการ
-          เพิ่มศักยภาพและสมรรถนะการให้บริการแก่บุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) และโรงพยาบาลชุมชนลูกข่าย(รพช.)






นโยบายและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม ปี ๒๕๕๙ - ๒๕๖๐