กลยุทธ์ที่ 10  เสริมสร้างความเข็มแข็งและศักยภาพในการพึงตนเองทางการเงินการคลังของโรงพยาบาล
 


มาตรการและแนวปฏิบัติของกลยุทธ์
1.     พัฒนามาตรฐานระบบบัญชี การเงิน การคลัง ให้มีความสมบูรณ์ถูกต้อง ได้รับการยอมรับตามหลักธรรมาภิบาล
-       กำหนดให้คณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง (CFO) เป็นผู้กำกับติดตามและวางแผนการดำเนินงานด้านบัญชี การเงิน การคลังอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยทุก 3 เดือน
-       พัฒนาระบบการติดตามและเฝ้าระวังทางการเงินและบัญชีอย่างต่อเนื่อง ทุก 1 เดือน
-       พัฒนาระบบติดตามผลการดำเนินงานและรายได้จำแนกตามกองทุน ทุก 1 เดือน
-       พัฒนาระบบจัดซื้อ-จัดหา ให้โปร่งใส เป็นธรรม ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ
2.     เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการทางการแพทย์ก่อให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด ส่งผลให้ CMI และ Sum Adjust RW เพิ่มสูงขึ้น
2.1    พัฒนาหน่วยงานเพื่อติดตามการดำเนินงานด้านสิทธิการรักษาและการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล
-       จัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลที่จะส่ง Claim เพื่อยืนยันความถูกต้องก่อนที่จะส่ง
-       จัดให้มีเจ้าหน้าที่อาวุโส ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลที่จะส่ง Claim เพื่อจะทำให้ข้อมูลที่ส่ง Claim มีความสมบูรณ์มากที่สุดซึ่งจะส่งผลให้การรับเงินชดเชยการบริการได้รับมากขึ้น
2.2    พัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลเพื่อทำการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ
-       พัฒนาคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน ส่งผลให้ Sum Adjust RW มีความถูกต้องตามการปฏิบัติจริงและค่า CMI สูงขึ้น นำมาซึ่งรายได้ที่มากขึ้น
-       ติดตามการลงข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยที่ให้บริการไปแล้วให้เป็นปัจจุบันและทันเวลา โดยเฉพาะการเบิกจ่ายในกลุ่มข้าราชการ,รัฐวิสาหกิจ,พรบ,ประกันสังคม ได้สมบูรณ์ครบถ้วน ถูกต้องและทันเวลา
-       สรุปข้อมูลการให้บริการ แยกเป็นกลุ่มตามสิทธิเสนอผู้บริหารเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์
-       เปรียบเทียบข้อมูลและตัวชี้วัดที่สำคัญต่อผลการดำเนินงานกับโรงพยาบาลที่มีบริบทคล้ายคลึงกัน เพื่อหาโอกาสพัฒนากระบวนการและวิธีการในการดำเนินการต่อไป
2.3    พัฒนาการบริหารทรัพยากรบริการให้เกิดประสิทธิภาพ นำมาซึ่งความคุ้มค่าของทรัพยากร (ร่วมกับกลยุทธ์ที่ 7)
 
3.     การจัดบริการพิเศษ (Premium Service) ที่เป็นสัดส่วนชัดเจนเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้รับบริการที่มีความสามารถในการร่วมจ่ายหรือผู้รับบริการต่างชาติ
3.1    พัฒนาระบบบริการที่สร้างความประทับใจและสร้างแรงจูงใจให้กลับมารับบริการอย่างต่อเนื่อง
-       จัดตั้งคณะกรรมการลูกค้าสัมพันธ์โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม เพื่อดำเนินงานตามนโยบายลูกค้าสัมพันธ์ (ร่วมกับกลยุทธ์ที่ 4)
-       พัฒนาระบบบริการที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้รับบริการ โดยมุ่งเน้นการปรับขั้นตอนการบริการที่กระชับและรวดเร็ว ด้วยภาพลักษณ์ที่ทันสมัย (ร่วมกับกลยุทธ์ที่ 4 และ 12)
-       พัฒนาระบบการประสานการส่งต่อระหว่างการบริการปกติและการบริการพิเศษให้มีความปลอดภัย ไร้รอยต่อ กำหนดช่องทางอำนวยความสะดวก เช่น การจองห้องพิเศษ การส่งต่อรักษาที่มีความซับซ้อน การขอเปลี่ยนรูปแบบบริการ (ร่วมกับกลยุทธ์ที่ 2)
3.2    ระบบบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ เพิ่มรายได้ให้กับโรงพยาบาล
(ร่วมกับกลยุทธ์ที่ 1 และ 4)
-       จัดบริการพิเศษทั้งในและนอกเวลาราชการตามความต้องการของผู้รับบริการ มุ่งเน้นบริการที่เป็นรายได้ของโรงพยาบาล เช่น การแพทย์แผนไทย กายภาพบำบัด ทันตกรรม การตรวจรักษาโรคทั่วไป การตรวจสุขภาพประจำปี การทดสอบสมรรถภาพทางกาย เป็นต้น (ร่วมกับกลยุทธ์ที่ 1 และ 4)
-       พัฒนาบริการรองรับผู้รับบริการต่างชาติ โดยเฉพาะกลุ่ม AEC ประกอบด้วย การสร้างเครือข่ายความร่วมมือให้การรักษาพยาบาลและวิชาการกับโรงพยาบาลใน สปป.ลาว. จัดรูปแบบบริการที่ตอบรับความต้องการด้านภาษา ให้บริการกลุ่ม AEC
-       พัฒนาระบบบริการทางการแพทย์คู่ขนานในรูปแบบบริการพิเศษทั้งในและนอกเวลาราชการ รองรับความต้องการของผู้รับบริการสิทธิจ่ายตรงข้าราชการ, รัฐวิสาหกิจ, องค์กรปกครองท้องถิ่น และผู้รับบริการที่ร่วมจ่าย เพื่อเพิ่มรายรับของโรงพยาบาลและลดความแออัดของระบบบริการปกติ
3.3    ระบบบริการเชิงรุก ตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้รับบริการที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญ
-       พัฒนาระบบบริการสุขภาพเชิงรุกที่สร้างรายได้ให้กับโรงพยาบาล ร่วมกับคณะกรรมการลูกค้าสัมพันธ์ฯ เช่น การตรวจสุขภาพประจำปีนอกสถานที่, การทดสอบสมรรถภาพทางกาย, การให้บริการทันตกรรมนอกสถานที่, การให้บริการแพทย์แผนไทยสู่ชุมชน, การเพิ่มบริการแพทย์ทางเลือกในกลุ่มผู้ป่วยในที่รับไว้ที่โรงพยาบาล เป็นต้น
-       ขยายฐานผู้รับบริการสิทธิจ่ายตรงข้าราชการ, รัฐวิสาหกิจ, องค์กรปกครองท้องถิ่น ให้ครอบคลุมมากขึ้น ด้วยระบบบริการเชิงรุกด้านสิทธิการรักษา เช่น การให้บริการขึ้นทะเบียนสิทธิ์ในกลุ่มเบิกได้นอกสถานที่ รวมทั้งสำรวจส่วนขาดในแต่ละพื้นที่และวางแผนเป้าหมายเพื่อเพิ่มจำนวนของผู้ขึ้นทะเบียนสิทธิให้ครอบคลุมมากขึ้น ทั้งในพื้นที่บริการและพื้นที่ใกล้เคียง
 
4.     พัฒนาความร่วมมือเชิงธุรกิจด้วยการร่วมทุนกับภาคเอกชน  (Public Private Partnership)
-       พัฒนาพื้นที่บริการเสริมและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับบุคลากรและผู้รับบริการ เพื่อเป็นแหล่งรายได้ของโรงพยาบาลในรูปแบบของกองทุนสวัสดิการ เช่น ร้านสะดวกซื้อ, ร้านกาแฟ, ร้านเสริมสวย, ร้านสินค้าโอท้อป, ร้านขายของที่ระลึกของเจ้าหน้าที่ที่เกษียณราชการแล้ว
-       แต่งตั้งอนุกรรมการบริหารพื้นที่ร้านค้าและสิ่งอำนวยความสะดวก ภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการสวัสดิการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม เพื่อดำเนินงานด้านการผู้บริหารจัดการพื้นที่และรายได้จากบริการเสริมด้วยหลักธรรมาภิบาล เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์, สัญญาร่วมทุน, และข้อตกลงการร่วมทุนกับภาคเอกชนในการจัดบริการ 
-       กำหนดหลักเกณฑ์การสรรหาผู้ร่วมทุน/ผู้จำหน่าย โดยมีการประกาศหลักเกณฑ์, ประกาศรับสมัคร, และคัดเลือกอย่างโปร่งใสโดยคณะกรรมการสวัสดิการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม
-       กำหนดเกณฑ์การคืนสวัสดิการ, ค่าเช่าพื้นที่ โดยคณะกรรมการสวัสดิการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม
-       กำหนดให้มีการแถลงผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริหารและบุคลากรทุกปี
 
5.     พัฒนากองทุนและการจัดหารายได้ด้วยกิจกรรมพิเศษ เพื่อนำรายได้สมทบทุนด้านการพัฒนาศักยภาพบริการและสังคมสงเคราะห์ โดยผนวกกิจกรรมกองทุนเดิมเข้ารวมกันเป็นกองทุนที่มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบด้วยคณะกรรมการและอนุกรรมการ
5.1    แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการกองทุน
-       บริหารจัดการกองทุน กำหนดหลักเกณฑ์และพิจารณาการใช้กองทุนตามวัตถุประสงค์
-       นำเสนอผลการดำเนินงานกองทุนต่อคณะกรรมการบริหารทุก 3 เดือน
-       แถลงผลการดำเนินงานต่อบุคลากรเป็นประจำทุกปี
-       แต่งตั้งอนุกรรมการบริหารจัดการกองทุนย่อย ภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารจัดการกองทุน เพื่อดำเนินกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
5.2    แต่งตั้งอนุกรรมการบริหารจัดการกองทุนย่อย
-       จัดทำโครงการและกิจกรรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุน
-       ดำเนินงานและสรุปผลกิจกรรมเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารจัดการกองทุน
5.3    อนุกรรมการจัดหารายได้และกิจกรรมพิเศษ
-       จัดตั้งหน่วยรับบริจาคและกล่องรับบริจาค เพื่อระดมทุนสำหรับการพัฒนาระบบบริการและสังคมเคราะห์ผ่านการดำเนินงานของกองทุนหลัก
-       บริหารจัดการด้านการรับบริจาคครุภัณฑ์ทั่วไปและครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ร่วมกับฝ่ายพัสดุและศูนย์เครื่องมือแพทย์
-       ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์องค์กรร่วมกับคณะกรรมการลูกค้าสัมพันธ์ฯ สร้างแรงจูงใจในการบริจาคสมทบทุนเพื่อพัฒนาระบบบริการและสังคมสงเคราะห์
-       จัดกิจกรรมพิเศษเพื่อระดมทุน เช่น การทอดผ้าป่า, การจัดคอนเสิร์ต เป็นต้น
นโยบายและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม ปี ๒๕๕๙ - ๒๕๖๐