กลยุทธ์ที่ 5 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่ร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดีสร้างนิสัยสุขภาพแก่ประชาชนให้เป็นวัฒนธรรมสุขภาพของชุมชนให้เข้มแข็ง 
 
มาตรการ และแนวปฏิบัติ
 
1.      พัฒนาระบบการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลและเครือข่าย ตามแนวคิดโรงพยาบาลสีเขียว (GREEN Hospital: Garbage, Rest Room, Environment, Energy, Nutrition)โดยกำหนดให้ “คณะกรรมการโครงสร้างและสิ่งแวดล้อม (ENV)” บูรณาการการทำงานร่วมกับ “คณะกรรมการโครงสร้าง (Master Plan)” ในการอำนวยการ ติดตาม กำกับ ประเมินผล การพัฒนาสิ่งแวดล้อมและอาคารรองรับการบริการที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ส่งเสริมต่อการมีสุขภาวะที่ดีของบุคลากรและผู้รับบริการ ดังนี้
 
1.1   ระบบการจัดการมูลฝอย (Garbage Management) แต่งตั้ง “อนุกรรมการจัดการมูลฝอย”เพื่อพัฒนาระบบการจัดการมูลฝอยทั่วไป มูลฝอยอันตรายและมูลฝอยติดเชื้อที่ถูกสุขลักษณะ
-       พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้สามารถควบคุมกำกับ ตรวจสอบ ประเมินสภาพปัญหาของระบบและหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้านการจัดการมูลฝอยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-       พัฒนาระบบการจัดการมูลฝอยทั่วไป มุ่งเน้นการจัดการแยกประเภทขยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการขยะ ลดต้นทุนและมลพิษอันเนื่องมาจากการจัดการ
-       พัฒนาระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่ถูกสุขลักษณะ ได้มาตรฐาน ลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อสู่บุคลากร ประชาชนและสิ่งแวดล้อม
-       บูรณาการการจัดการมูลฝอยร่วมกับภาคีเครือข่าย เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
-       สร้างมูลค่าเพิ่มของขยะมูลฝอยทั่วไป ผ่านกองทุนขยะรีไซเคิลของโรงพยาบาลและชุมชน
 
1.2   ระบบการจัดการสุขาภิบาลห้องน้ำ (Rest Room Management) แต่งตั้ง “อนุกรรมการพัฒนาห้องน้ำ”เพื่อพัฒนามาตรฐานห้องน้ำสาธารณะตามเกณฑ์ HAS (Healthy, Accessibility, Safety) อย่างต่อเนื่อง
-       พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้สามารถควบคุมกำกับ ตรวจสอบ ประเมินสภาพปัญหาตามมาตรฐานของห้องน้ำสาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-       ดำเนินการกำหนดแผนการปรับปรุงและบำรุงรักษาห้องน้ำสาธารณะภายในโรงพยาบาล
-       พัฒนามาตรฐานของห้องน้ำสาธารณะ ตามเกณฑ์ HAS  อย่างต่อเนื่อง
1.3   ระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Management) แต่งตั้ง “อนุกรรมการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม” เพื่อดำเนินการด้านการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
1.3.1   บริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย
-       พัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียและการรายงานการเดินระบบบำบัดน้ำเสีย ตามมาตรา 80
-       พัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียของโรงพยาบาลรองรับการเพิ่มขึ้นของบุคลากรและผู้รับบริการสำหรับโรงพยาบาลขนาด 500 เตียง ให้สามารถบำบัดน้ำเสียของโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายในปี 2562
-       พัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้สามารถจัดการ ควบคุมกำกับ ตรวจสอบ รายงานการเดินระบบบำบัดน้ำเสีย ตามมาตรา 80 ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมประเมินสภาพปัญหาของระบบและหาแนวทางแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายในปี 2562
-       จัดอบรมให้ความรู้บุคลากรให้สามารถจัดการน้ำเสียในแต่ละกลุ่มงาน เพื่อรองรับระบบบำบัดน้ำเสียใหม่ในปี 2562
1.3.2   การสุขาภิบาลและความปลอดภัยภายในอาคาร
(ร่วมกับกลยุทธ์ที่ 4, อนุกรรมการพัฒนาพื้นที่บริการ)
-       ให้มีความสะดวกในการให้บริการ มีความสะอาด เป็นระเบียบ และแสงสว่างเพียงพอ
-       ทางสัญจรร่วมภายในอาคารมีความกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร จัดทำเครื่องหมายเตือนบริเวณพื้นต่างระดับ
-       จัดสิ่งอำนวยสะดวกตามกฎกระทรวง กำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือผู้ทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ.2548
-       จัดระบบดูแล ควบคุมกำกับ เรื่องความสะอาดอาคารและครุภัณฑ์ โดยกำหนดบทบาทหน้าที่และกำกับดูแลการปฏิบัติงานที่ชัดเจน จัดอบรมแนะนำการปฏิบัติงานทำความสะอาดอย่างต่อเนื่อง
-       ปรับปรุงระบบระบายอากาศภายในอาคารให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน มีช่องระบายอากาศไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของพื้นที่ห้องที่ไม่มีระบบปรับอากาศ
-       ควบคุมแหล่งกำเนิดเสียงและความสั่นสะเทือนในโรงพยาบาล ไม่ให้รบกวนต่อผู้ป่วยและบุคลากรในโรงพยาบาล ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
1.3.3   พัฒนาการสุขาภิบาลและความปลอดภัยภายนอกอาคาร
-       พัฒนาตามมาตรฐาน Green Hospital ภายในปี 2562 และมีระบบป้องกันมลพิษที่มีประสิทธิภาพ
-       จัดพื้นที่จอดรถรับส่งผู้ป่วยฉุกเฉิน/ผู้ป่วยทั่วไป และพื้นที่จอดสาหรับผู้พิการที่มีหลังคาคลุม
-       การจัดการจราจรภายในโรงพยาบาลที่ปลอดภัย เพียงพอ และมีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ
-       ทางเดินภายนอกอาคารและทางเชื่อมระหว่างอาคาร มีความปลอดภัย มีแสงสว่างเพียงพอ อย่างน้อย 20-50 ลักซ์
-       ระบบไฟฟ้าและแสงสว่างอยู่ในสภาพปลอดภัย ไม่ชำรุด แนวสายไฟต้องห่างจากต้นไม้และสิ่งก่อสร้างอย่างน้อย 2.5 เมตร และมีการตกแต่งต้นไม้สูงให้พ้นแนวสายไฟอย่างสม่ำเสมอ
-       ปรับปรุงระบบการป้องกันมลพิษรบกวนจากภายในและภายนอกโรงพยาบาล เช่น ฝุ่นละออง แสงสะท้อน เสียงดัง ไอน้ำ ควันไฟ รังสี
-       จัดให้มีระบบระบายน้ำที่ดีและมีระบบป้องกันน้ำท่วมขังในบริเวณใต้อาคารและสถานที่
1.3.4   การควบคุมสัตว์/แมลงพาหะนำโรคมีระบบการสำรวจ ตรวจสอบและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ตัวอ่อนหรือตัวแก่ของสัตว์/แมลงนำโรคที่ชัดเจน มีการประชาสัมพันธ์ ห้ามมิให้ผู้มาใช้บริการนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในบริเวณอาคารของโรงพยาบาล
  
1.4   ระบบการจัดการด้านพลังงานและสาธารณูปโภค (Energy Resource Management) แต่งตั้ง “อนุกรรมการพัฒนาพลังงานและสาธารณูปโภค” เพื่อดำเนินงานด้านพลังงานและสาธารณูปโภค ลดการใช้พลังงาน ติดตามและวางแผนด้านสาธารณูปโภคให้เพียงพอ
-       พัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจด้านการอนุรักษ์และจัดการพลังงานอย่างเป็นระบบและทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดด้านพลังงานและสาธารณูปโภค
-       ลดการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่องด้วยการรณรงค์การประหยัดพลังงานและการจัดการพลังงานอย่างคุ้มค่า
-       พัฒนาพลังงานทดแทน พลังงานทางเลือก และพลังงานสีเขียว (Green Energy)
 
1.5   ระบบการจัดการด้านโภชนาการ (Nutritional Management) แต่งตั้ง “อนุกรรมการอาหารปลอดภัย” เพื่อติดตามการพัฒนาด้านสุขาภิบาลอาหาร งานอาหารปลอดภัยและคุณภาพพน้ำอุปโภคบริโภค
1.5.1   การพัฒนาเครือข่ายอาหารปลอดภัย
-       จัดตั้งชมรมผู้ประกอบการร้านอาหาร ภายใต้เครือข่ายอาหารปลอดภัยทั้งภายในและภายนอก บริเวณรอบโรงพยาบาล
-       พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้สามารถพิจารณา ควบคุมกำกับ ตรวจสอบ ประเมินวิเคราะห์กระบวนการผลิตและคุณภาพอาหารได้ จัดหาครุภัณฑ์ที่จำเป็นในการตรวจวิเคราะห์ให้เพียงพอ
-       ปรับโครงสร้างของโรงอาหาร โรงครัว ให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล
-       ประสานความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพ ร่วมรณรงค์ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ให้ผู้บริโภคมีความรู้ มีพฤติกรรมที่ถูกต้อง และสนับสนุน เสริมสร้างผู้ประกอบการ/ผู้ผลิตอาหารปลอดภัย
-       ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ ลดการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตและจำหน่าย เน้นการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
1.5.2   การขับเคลื่อนกระบวนการเครือข่ายอาหารปลอดภัย
-       ปรับปรุงระบบบริหารจัดการที่เกี่ยวข้อง เช่น เมนูอาหารตามฤดูกาล กำหนดความต้องการด้านปริมาณและชนิดวัตถุดิบ จัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ การจัดซื้อ-จัดจ้าง และการเปรียบเทียบข้อมูลก่อน-หลังการดำเนินงาน
-       พัฒนาบุคลากรในด้านความรู้ความเข้าใจและกำหนดแนวทางร่วมเพื่อควบคุมมาตรฐานพัฒนาต่อยอดเป็นแบรนด์อาหารปลอดภัยของโรงพยาบาล
-       พัฒนาเครือข่ายผู้ผลิต/แปรรูป ผู้จำหน่าย ผู้บริโภค เพื่อเสริมสร้างความตระหนักในด้านสุขาภิบาลอาหาร มีการตรวจเยี่ยมแหล่งผลิต/แปรรูป แหล่งจำหน่าย อย่างต่อเนื่อง
1.5.3   พัฒนาระบบน้ำอุปโภคบริโภคในพื้นที่ให้เพียงพอตามเกณฑ์ พัฒนาศักยภาพการตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งและตรวจสอบคุณภาพน้ำอุปโภคอย่างน้อยทุก 3 เดือน
 
2.      พัฒนาระบบการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมภายนอกโรงพยาบาลแบบบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายส่งเสริมต่อการมีสุขภาวะที่ดีของประชาชนในพื้นที่
2.1   พัฒนาด้านสุขาภิบาลอาหารและงานอาหารปลอดภัย
-       จัดตั้งชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารภายใต้เครือข่ายอาหารปลอดภัย สนับสนุนและเสริมสร้างผู้ประกอบการและผู้ผลิตอาหารปลอดภัย
-       ส่งเสริมการบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะ และขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาเครือข่ายอาหารปลอดภัยจนเป็นตัวอย่างความสำเร็จและความเชื่อมั่นด้านสุขาภิบาลอาหาร
-       ประสานความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพ ร่วมรณรงค์ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ให้ผู้บริโภคมีความรู้ มีพฤติกรรมที่ถูกต้อง และสนับสนุน เสริมสร้างผู้ประกอบการ/ผู้ผลิตอาหารปลอดภัย
-       พัฒนาเครือข่ายผู้ผลิต/แปรรูป ผู้จำหน่าย ผู้บริโภค เพื่อเสริมสร้างความตระหนักในด้านสุขาภิบาลอาหาร มีการตรวจเยี่ยมแหล่งผลิต/แปรรูป แหล่งจำหน่าย อย่างต่อเนื่อง
2.2   พัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Environmental Health Accreditation : EHA) โดยร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ในการกำหนดคณะผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน
 
3.      พัฒนาบริการด้านอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม โดยแต่งตั้ง “คณะกรรมการอาชีวอนามัยความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม” เพื่อบริหารจัดการและพัฒนาบริการทางด้านอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมให้ได้มาตรฐาน  ทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ  ปกป้อง คุมครอง  ป้องกัน  รักษา  และฟื้นฟูสุขภาพ  ให้แก่บุคลากรในโรงพยาบาล  ประชาชนผู้ประกอบอาชีพกลุ่มต่างๆ  และประชาชนกลุ่มเสี่ยงเปราะบางหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในพื้นที่รับผิดชอบ
3.1   พัฒนาระบบการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม
-       สรรหาอัตรากำลังและพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางด้านอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมให้เพียงพอต่อการบริการและขับเคลื่อนภารกิจตามกลยุทธ์
-       สนับสนุนเครื่องมือและครุภัณฑ์ที่เพียงพอต่องานบริการทางด้านอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม
-       สร้างและพัฒนาสมรรถนะเครือข่ายบริการด้านอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมทั้งเชิงรับและรุก ให้แก่ประชาชน ผู้ประกอบอาชีพ และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม
-       สร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายด้านอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ผ่านระบบ DHS โดยผลักดันให้จัดตั้งคณะกรรมการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมระดับอำเภอ เพื่อบูรณาการการจัดการด้านอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม
 
3.2   พัฒนาระบบการจัดการความรู้  และระบบข้อมูลสารสนเทศสถานการณ์และการเฝ้าระวังด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ที่เชื่อมโยง  ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ  ส่งเสริมให้เกิดวิธีการปฏิบัติงานที่ดีด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
-       พัฒนาระบบและจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศสถานการณ์และการเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โดยเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลโปรแกรม Hos-xp
-       พัฒนาระบบและจัดทำฐานข้อมูลระบบสารสนเทศแหล่งมลพิษ เช่น บ่อขยะ โรงงานน้ำแข็ง เป็นต้น ในพื้นที่ โดยเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลโปรแกรม Hos-xp หรือฐานข้อมูลโปรแกรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
-       พัฒนาระบบหรือกลไกการเฝ้าระวังสื่อสารเตือนภัยและโต้ตอบภาวะฉุกเฉินจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่
-       วางระบบและและจัดทำฐานข้อมูลระบบสารสนเทศด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล โดยเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลโปรแกรม Hos-xp  ฐานข้อมูลโปรแกรมความเสี่ยงของโรงพยาบาล ฐานข้อมูลบุคลากร หรือฐานข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง
-       ดำเนินการจัดทำบันทึกข้อมูลอุบัติเหตุจาการทำงาน การดำเนินงานด้านความปลอดภัย  และสุขาภิบาลที่ได้มาตรฐาน สถานบริการมีความปลอดภัย (Health Care Work place)
-       สร้างรูปแบบการให้บริการอาชีวสุขศึกษา/วิชาการด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
-       จัดทำคู่มือ/แนวทางปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานสำหรับบุคลากรในโรงพยาบาล  ประชาชนกลุ่มเสี่ยงจากการทำงานหรือสิ่งแวดล้อม
-       จัดหรือสนับสนุนกิจกรรมมหกรรมความปลอดภัยในการทำงานบุคลากรในโรงพยาบาล  หรือผู้ประกอบอาชีพกลุ่มต่างๆในพื้นที่ เนื่องในวัน “ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ” ปีละ 1 ครั้ง ในเดือน พฤษภาคม ของทุกปี
-       ส่งเสริมการสร้างนวตกรรมด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมสำหรับบุคลากรในโรงพยาบาล  หรือประชาชนผู้ประกอบอาชีพกลุ่มต่างๆ 
-       สนับสนุนหรือมีการศึกษาวิจัย/การทำ R2R หรือเพื่อพัฒนางานทางด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
 
 
3.3   พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการบริการด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับบุคลากรในโรงพยาบาล
-       ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการประเมินความเสี่ยงจากการทำงาน
-       สนับสนุนกิจกรรมและการบริหารจัดการควบคุม  แก้ไขความเสี่ยงจากการทำงานภายในโรงพยาบาลอย่างมีส่วนร่วมของบุคลากร ในการใส่ใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
-       สนับสนุนการประเมิน ค้นหาและเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของบุคลากรให้ได้รับบริการที่ครอบคลุมและต่อเนื่อง เช่น การตรวจสุขภาพประจำปี การตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงลักษณะงาน การป้องกันโรคด้วยวัคซีน การสร้างเสริมสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้มีประสิทธิภาพ ในด้าน การสำรวจ, การสรรหา, การฝึกอบรมการใช้, การรักษา, การติดตามและประเมินผล
-       สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในที่ทำงาน เช่น กิจกรรมพัก  ออกกำลังกาย  และ สันทนาการระหว่างการทำงาน
-       บริการประเมิน คัดกรอง  ตรวจรักษา  ฟื้นฟูสภาพ  ให้ความรู้เรื่องโรค  และการจัดการความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงการส่งต่อเพื่อการรักษาและฟื้นฟูสุขภาพ
 
3.4   พัฒนาคุณภาพการบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมทั้งเชิงรุกและเชิงรับแก่ประชาชนกลุ่มอาชีพต่าง  ผู้ได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม  สถานประกอบการ  และเครือข่ายบริการสุขภาพในพื้นที่
-       จัดตั้งคลินิกบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลการและพัฒนาการเข้าถึงบริการ เช่น การประชาสัมพันธ์บริการ, การจัดทำแนวทางการปฏิบัติการให้บริการ, การประเมินความพึงพอใจ เป็นต้น
-       บริการประเมิน คัดกรอง การวินิจฉัย การดูแลรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพ การให้คำปรึกษาและการส่งต่อ ผู้ป่วยโรคหรืออุบัติเหตุจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์มาตรฐาน
-       ควบคุม กำกับการการตรวจประเมินสภาพแวดล้อมให้เป็นไปตามมาตรฐาน
-       ควบคุม กำกับการการตรวจประเมินสุขภาพตามความเสี่ยงให้เป็นไปตามมาตรฐาน
-       บริการประเมินการสูญเสียสมรรถภาพการทำงานจากโรคหรืออุบัติเหตุตามแนวทางของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน
-       บริหารจัดการประเมินและดูแลผู้ป่วยก่อนกลับเข้าทำงาน (Return to work )
-       บริการติดตามและดูแลต่อเนื่องผู้สงสัยหรือผู้ป่วยโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ที่บ้าน สถานที่ทำงาน/สถานประกอบการ หรือในชุมชน
-       สนับสนุนเครือข่ายบริการสุขภาพและสถานประกอบการในการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์มาตรฐาน
-       สร้างการมีส่วนร่วมและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม สื่อสารเตือนภัย และโต้ตอบภาวะฉุกเฉินจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมประชาชนในพื้นที่
-       ดำเนินการสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญทั้งในบุคลากรโรงพยาบาลและประชาชนในพื้นที่
-       ดำเนินการหรือสนับสนุนการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เช่น การเดินสำรวจสถานประกอบการหรือสถานที่ทำงานเพื่อค้นหาสิ่งคุกคามสุขภาพ การตรวจวัดหรือเก็บตัวอย่างทางสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่มีประชาชนกลุ่มเสี่ยงหรือได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม การสำรวจภาวะสุขภาพและสิ่งแวดล้อมด้วยแบบฟอร์มหรือเครื่องมือต่างๆ  เป็นต้น
-       จัดบริการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพผู้ประกอบอาชีพกลุ่มเสี่ยง เช่น กลุ่มเก็บ คัดแยกขยะ  และผู้ได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม
 
3.5   สร้างชุมขนต้นแบบความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
-       พัฒนาสุขาภิบาลด้านอาหารและความปลอดภัยแบบมีส่วนร่วม
-       พัฒนาสุขาภิบาลการจัดการด้านขยะและอนามัยสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม
-       พัฒนาด้านความปลอดภัย  และอาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทำงานแบบมีส่วนร่วม
-       สร้างเสริมความเข้มแข็งของเครือข่ายเกษตรอินทรีย์
นโยบายและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม ปี ๒๕๕๙ - ๒๕๖๐