กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาโรงพยาบาลให้มีความสมบูรณ์ทั้งบุคลากรทางการแพทย์ระบบบริการและ
เทคโนโลยีทางการแพทย์ในมาตรฐาน โรงพยาบาลระดับตติยภูมิของประเทศ
 
มาตรการ และแนวปฏิบัติ
            เน้นการสร้างระบบบริการใน 6 สาขาหลัก ได้แก่ สูตินรีเวชกรรม ศัลยกรรม อายุรกรรม กุมารเวชกรรม ออโธปิดิกส์ วิสัญญีวิทยา และ 7 สาขารอง ได้แก่ จักษุวิทยา รังสีวิทยา จิตเวชศาสตร์ หูคอจมูก เวชศาสตร์ครอบครัว เวชศาสตร์ฉุกเฉิน และเวชศาสตร์พื้นฟู เพื่อรองรับการขยายบริการให้ครอบคลุมตามมาตรฐานโรงพยาบาลตติยภูมิ พัฒนาศักยภาพด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ จัดสรรอัตรากำลังตามกรอบ FTE พัฒนาเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ขยายหน่วยบริการสำคัญ เช่น ห้องผ่าตัด หอผู้ป่วยวิกฤติ ธนาคารเลือด ให้การดูแลครอบคลุมกลุ่มโรคสำคัญในพื้นที่ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ นิ่วในถุงน้ำดี โรคมะเร็ง อุบัติเหตุ ทารกแรกเกิด พัฒนาการ ไข้เลือดออก หอบหืด การตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง มีความโดดเด่นในด้านการรักษาผู้ป่วยอุบัติเหตุ โรคมะเร็ง โรคกระดูกและข้อ มารดาและทารก โรคไต และโรคหลอดเลือดสมอง
            อุปสรรคต่อการพัฒนาศักยภาพการบริการตติยภูมิ คือ ปัญหาด้านงบประมาณ สถานที่ และอัตรากำลัง จึงมีแนวทางสำคัญในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ ดังนี้
-       การระดมทุนเพื่อพัฒนาระบบบริการ การจัดซื้อ/จัดจ้างบุคลากรและครุภัณฑ์ รวมถึงการปรับปรุงพื้นที่บริการ โดยจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม เพื่อบริหารจัดการกองทุน การจัดกิจกรรมหารายได้และประชาสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดความร่วมมือของภาคีเครือข่ายและประชาชนในการระดมทุนเพื่อพัฒนาโรงพยาบาล (ร่วมกับกลยุทธ์ที่ 10)
-       การวางแผนพัฒนาอัตรากำลังและศักยภาพบุคลกรที่ชัดเจน ภายใต้การทำงานของคณะกรรมการด้านบุคลากร เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาที่สอดคล้องกัน
(ร่วมกับกลยุทธ์ที่ 9)
-       การกำหนดแผนแม่บทการพัฒนาโครงสร้างและพื้นที่ของโรงพยาบาล (Master Plan) ให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนาศักยภาพการบริการ
 
เพื่อให้บรรลุตามกลยุทธ์และเป้าประสงค์ ต้องมีการดำเนินงานเพื่อให้มีความสอดคล้องกัน ดังต่อไปนี้
1.      พัฒนาและเพิ่มศักยภาพหน่วยบริการสำคัญที่ทำให้เกิดการต่อยอดสู่บริการที่ครอบคลุม ซับซ้อน และตอบสนองต่อความต้องการในพื้นที่ ได้แก่ การขยายบริการผ่าตัด พัฒนาการบริการผู้ป่วยวิกฤติ เพิ่มศักยภาพบริการธนาคารเลือด พัฒนาระบบบริการจ่ายกลาง/ซักฟอก พัฒนาบริการทันตกรรม พัฒนาบริการเภสัชกรรม และพัฒนาบริการการแพทย์ผสมผสาน
2.      สร้างศูนย์ความเชี่ยวชาญของโรงพยาบาล เพื่อการให้บริการที่มีมาตรฐาน โดดเด่น ครบวงจร มีประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยอย่างครอบคลุมและต่อเนื่อง เป็นที่ไว้วางใจของผู้รับบริการ ในกลุ่มโรคสำคัญ ได้แก่ อุบัติเหตุ โรคมะเร็ง การส่องกล้องเพื่อการวินิจฉัยและรักษา โรคกระดูกและข้อ กลุ่มสุขภาพมารดาและเด็ก โรคไต โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ
 
1.    พัฒนาและเพิ่มศักยภาพหน่วยบริการสำคัญที่ทำให้เกิดการต่อยอดสู่บริการที่ครอบคลุม ซับซ้อน และตอบสนองต่อความต้องการในพื้นที่ หน่วยบริการสำคัญ ได้แก่
1.1   พัฒนาระบบบริการผ่าตัด
1.1.1 พัฒนาโครงสร้างและระบบบริการผ่าตัด
-       พัฒนาพื้นที่บริการ ขยายห้องผ่าตัดเพิ่มเติมอีก 8 ห้อง ภายในปี 2560 เพื่อรองรับจำนวนศัลยแพทย์และงานบริการที่เพิ่มขึ้น
-       ปรับปรุงพื้นที่ห้องผ่าตัดเดิมให้เป็นไปตามมาตรฐานห้องผ่าตัด เพิ่มห้องผ่าตัดเล็กและห้องส่องกล้องเพื่อรองรับบริการ
1.1.2 พัฒนาครุภัณฑ์ทางการแพทย์และบุคลากรรองรับระบบบริการผ่าตัด
-       จัดหาครุภัณฑ์ทางการแพทย์รองรับการขยายบริการผ่าตัดและวิสัญญี ตามแผนการพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลตติยภูมิ
-       พัฒนาอัตรากำลังและศักยภาพของพยาบาลห้องผ่าตัด ให้มีพยาบาลที่มีความชำนาญจำเพาะ มีระบบการฝึกทักษะให้กับพยาบาลและเจ้าหน้าที่ใหม่เพื่อรองรับการบริการผ่าตัดที่ครอบคลุมและซับซ้อน โดยอาศัยความร่วมมือกับโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์และโรงพยาบาลในเครือข่าย
-       พัฒนาอัตรากำลังวิสัญญีพยาบาลและเจ้าหน้าที่ให้มีศักยภาพและปริมาณที่เพียงพอต่อการบริการ โดยอาศัยความร่วมมือกับโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์และโรงพยาบาลในเครือข่าย
 
1.2   พัฒนาระบบบริการผู้ป่วยวิกฤติ
1.2.1 พัฒนาโครงสร้างและระบบบริการสำหรับผู้ป่วยวิกฤติ/กึ่งวิกฤติ
-       เปิดบริการหอผู้ป่วยวิกฤติรวม (ICU) เพิ่มขึ้น 8 เตียงในพื้นที่อาคารปฏิบัติการ ภายในปี 2560 เพื่อรองรับผู้ป่วยวิกฤติในทุกสาขาบริการ
-       เปิดบริการหอผู้ป่วยวิกฤติทารก (NICU) จำนวน 6-8 เตียงในพื้นที่อาคารปฏิบัติการ ภายในปี 2560 เพื่อรองรับผู้ป่วยวิกฤติในทุกสาขาทารกแรกเกิด
-       เปิดบริการหอผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง (Stroke Unit) เพื่อรองรับบริการการดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองและการให้ยาละลายลิ่มเลือด
-       ขยายบริการและเพิ่มศักยภาพห้องบริบาลเด็กอ่อนให้สามารถรองรับการบริการทารกแรกเกิดกึ่งวิกฤติและเฝ้าระวังใกล้ชิด
-       ขยายบริการหอผู้ป่วยวิกฤติที่ตึกศัลยกรรมหญิงให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยได้มากขึ้น
-       พัฒนาบริการด้านการดูแลผู้ป่วยวิกฤติ/กึ่งวิกฤติ ให้มีความครอบคลุมตามศักยภาพของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ
 
1.2.2 พัฒนาครุภัณฑ์ทางการแพทย์และบุคลากรรองรับระบบบริการผู้ป่วยวิกฤติ/กึ่งวิกฤติ
-       จัดหาครุภัณฑ์ทางการแพทย์รองรับการขยายบริการด้านการดูแลผู้ป่วยวิกฤติ/กึ่งวิกฤติ ตามแผนการพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลตติยภูมิ
-       พัฒนาอัตรากำลังและศักยภาพของพยาบาลประจำหอผู้ป่วยวิกฤติ/กึ่งวิกฤติ ให้มีพยาบาลที่มีความชำนาญจำเพาะ มีระบบการฝึกทักษะให้กับพยาบาลและเจ้าหน้าที่ใหม่เพื่อรองรับการบริการผู้ป่วยวิกฤติ/กึ่งวิกฤติ ที่ครอบคลุมและซับซ้อน โดยอาศัยความร่วมมือกับโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์และโรงพยาบาลในเครือข่าย
 
1.3   พัฒนาระบบบริการธนาคารเลือด
1.3.1 พัฒนาโครงสร้างและระบบบริการธนาคารเลือด
-       พัฒนาศักยภาพการบริการธนาคารเลือดรองรับการบริการระดับตติยภูมิ เป็นศูนย์การบริหารและบริการด้านธนาคารเลือดสำหรับเครือข่ายพื้นที่บริการ
-       พัฒนาความร่วมมือด้านธนาคารเลือดร่วมกับโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ในด้านวิชาการ การปรึกษาและการรับบริจาคเลือดร่วมกันในพื้นที่บริการ เพื่อให้มีปริมาณเลือด/สารประกอบของเลือดที่เพียงพอ รองรับการบริการตามภารกิจรับผิดชอบ
1.3.2 พัฒนาครุภัณฑ์ทางการแพทย์และบุคลากรรองรับระบบบริการธนาคารเลือด
-       จัดหาครุภัณฑ์ทางการแพทย์รองรับการขยายบริการธนาคารเลือด สามารถปั่นแยกส่วนประกอบของเลือดให้เพียงพอและพร้อมใช้
-       พัฒนาอัตรากำลังและศักยภาพของนักเทคนิคการแพทย์ ให้มีนักเทคนิคการแพทย์ที่มีความชำนาญจำเพาะด้านธนาคารเลือดที่ผ่านการอบรมหลักสูตร 4 เดือน จำนวน 2คน ภายใน 2560
 
1.4   พัฒนาระบบบริการซักฟอก/จ่ายกลาง (Central Supply)
1.4.1 พัฒนาโครงสร้างและระบบบริการซักฟอก/จ่ายกลาง
-       พัฒนาระบบบริการซักฟอก/จ่ายกลางรองรับบริการในอนาคต ตอบสนองการบริการสำหรับโรงพยาบาลขนาด 500 เตียงภายในปี 2563 และสนับสนุนงานบริการสำหรับ รพ.สต. ลูกข่ายทั้ง 25 แห่ง
-       พัฒนาพื้นที่บริการรองรับการบริการ กำหนดแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่บริการ (Master Plan) เพื่อรองรับการขยายบริการสำหรับโรงพยาบาล 500 เตียง
-       พัฒนาระบบการบริหารจัดการคลังพัสดุของงานซักฟอก/จ่ายกลางให้มีความถูกต้อง เพียงพอ และมีประสิทธิภาพ สนับสนุนการบริการตติยภูมิ
-       ขยายบริการซักฟอก/จ่ายกลางสำหรับสถานบริการภาคเอกชนเพื่อหารายได้ให้กับโรงพยาบาล
 
1.4.2 พัฒนาครุภัณฑ์และบุคลากรรองรับระบบบริการซักฟอก/จ่ายกลาง
-       พัฒนาศักยภาพและอัตรากำลังของบุคลากรให้หน่วยบริการซักฟอก/จ่ายกลางให้เพียงพอ สามารถให้บริการรับส่งเวชภัณฑ์ได้อย่างเบ็ดเสร็จ มีมาตรฐานในการให้บริการด้านซักฟอก/จ่ายกลางและมาตรฐานการปราศจากเชื้อในเวชภัณฑ์/ครุภัณฑ์
-       พัฒนาศักยภาพการบริการซักฟอก/จ่ายกลาง โดยอาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเครื่องมืออัตโนมัติมาเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ ลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยงาน
 
 
1.5   พัฒนาศักยภาพการบริการด้านทันตกรรม
1.5.1 พัฒนาโครงสร้างและระบบบริการด้านทันตกรรม
-       พัฒนาระบบบริการทั้งในและนอกเวลาราชการ รองรับความต้องการของประชาชนในพื้นที่บริการ พัฒนาระบบบริการพิเศษ (Premium Service) เป็นทางเลือกสำหรับผู้รับบริการที่มีศักยภาพพร้อมจ่าย
-       พัฒนาพื้นที่บริการ และจัดหาครุภัณฑ์ทางการแพทย์รองรับการขยายบริการทันตกรรม ตามแผนการพัฒนาโรงพยาบาล
1.5.2 พัฒนาบุคลากรรองรับบริการด้านทันตกรรม ส่งเสริมการคงอยู่ของบุคลากร
-       พัฒนาอัตรากำลังและศักยภาพของทันตแพทย์และเจ้าหน้าที่ประจำกลุ่มงานทันตกรรม เพิ่มศักยภาพและอัตรากำลังทันตแพทย์เฉพาะทางเพื่อขยายบริการรองรับความต้องการของประชาชนในพื้นที่
-       จัดสรรสวัสดิการ/ค่าตอบแทนที่สูงกว่าสวัสดิการพื้นฐานของรัฐ โดยพิจารณาจากภารงานและผลงานของหน่วยงาน ผ่านระเบียบปฏิบัติของโรงพยาบาล สำหรับทันตแพทย์ เพื่อสร้างแรงจูงใจแลให้เกิดการคงอยู่ของบุคลากร
 
1.6   พัฒนาศักยภาพบริการด้านเภสัชกรรม
1.6.1 พัฒนาโครงสร้างและระบบบริการเภสัชกรรม
-       พัฒนาหน่วยบริการเภสัชกรรมรองรับการบริการในอนาคต สร้างความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการด้วยบริการที่รวดเร็วและมีมาตรฐาน
-       พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่ออำนวยความสะดวกในระบบบริการเภสัชกรรม เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการยา/เวชภัณฑ์ การตรวจจับ/รายงานความเสี่ยงทางยา การให้สุขศึกษาและข้อมูลยา ทั้งภายในโรงพยาบาล เครือข่าย และชุมชน
1.6.2 พัฒนาบุคลากรรองรับบริการเภสัชกรรม
-       พัฒนาอัตรากำลังและศักยภาพของเภสัชกรและเจ้าหน้าที่ประจำกลุ่มงานเภสัชกรรม
-         เพิ่มศักยภาพและอัตรากำลังเภสัชกรรมคลินิกในสาขาที่มีความเกี่ยวข้อง สาขาละ 1 คน ภายในปี 2563 เช่น สาขาเคมีบำบัดและการเตรียมยา (3 คน), สาขาจิตเวช, สาขายาต้านไวรัส, สาขาวัณโรค, สาขาหัวใจและหลอดเลือด, สาขา COPD & Asthma, สาขา DM&HT, Family Phamacist, สาขาคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น
 
 
1.7   พัฒนาระบบบริการการแพทย์ผสมผสาน
พัฒนาระบบบริการการแพทย์ผสมผสานครบวงจร ผลักดันเป็น “โรงพยาบาลการแพทย์ผสมผสาน” ให้บริการคู่ขนานกับระบบบริการการแพทย์แผนปัจจุบัน
1.7.1 พัฒนาโครงสร้างและระบบบริการการแพทย์ผสมผสาน
-       ปรับปรุงพื้นที่บริการรองรับการบริการการแพทย์ผสมผสาน เช่น บริการแพทย์แผนไทย บริการแพทย์แผนจีน บริการด้านสมุนไพร การฝังเข็ม การนวดไทย การนวดจัดกระดูก เป็นต้น
-       พัฒนาพื้นที่บริการสู่การเป็นโรงพยาบาลการแพทย์ผสมผสาน
-       พัฒนารูปแบบบริการคู่ขนานกับการแพทย์แผนปัจจุบัน ผสมผสานกระบวนการดูแลผู้ป่วยร่วมกันระหว่างการแพทย์แผนตะวันตกและตะวันออก
-       พัฒนาระบบบริการสุขภาพเชิงรุกสู่ชุมชนร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบันภายใต้คณะกรรมการ COC
-       พัฒนารูปแบบบริการพิเศษ (Premium Service) เพื่อให้บริการทั้งในและนอกเวลาราชการ มุ่งเน้นกลุ่มผู้บริการที่มีความสามารถพร้อมจ่ายเพื่อเป็นแหล่งรายได้ของโรงพยาบาล
1.7.2 พัฒนาบุคลากรรองรับบริการการแพทย์ผสมผสาน
-       พัฒนาศักยภาพและอัตรากำลังของบุคลากรทางการแพทย์แผนไทย แผนจีนให้เพียงพอต่อความต้องการการขยายขอบเขตบริการ
-       สนับสนุนการต่อยอดทางวิชาการ และการศึกษาต่อของบุคลากรในกลุ่มการแพทย์ผสมผสาน
-       สนับสนุนการต่อยอดทางวิชาการ และการฝึกอบรมด้านการแพทย์ผสมผสาน ในกลุ่มแพทย์แผนตะวันตก
1.7.3 พัฒนาการผลิตภัณฑ์สุขภาพและสมุนไพร
-       ปรับปรุง/ก่อสร้างอาคารผลิตเวชภัณฑ์ด้านสมุนไพรให้เพียงพอต่อความต้องการ
-       สนับสนุนการใช้ยาสมุนไพรทดแทนการใช้ยาแผนปัจจุบัน
-       จัดสรรพื้นที่แปลงสาธิตด้านการปลูกพืชสมุนไพรเพื่อเป็นวัตถุดิบและแหล่งเรียนรู้
-       สนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่ให้ปลูกพืชสมุนไพรเป็นแหล่งวัตถุดิบให้โรงพยาบาล
-       พัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีมาตรฐานภายใต้ชื่อแบรนด์ของโรงพยาบาล
1.7.4 พัฒนาครุภัณฑ์และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ผสมผสาน
-       จัดหาครุภัณฑ์และเวชภัณฑ์ให้เพียงพอต่อการบริการ
 
2.      ศูนย์ความเชี่ยวชาญของโรงพยาบาลเพื่อการให้บริการที่มีมาตรฐาน โดดเด่น ครบวงจรมีประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยอย่างครอบคลุมและต่อเนื่อง เป็นที่ไว้วางใจของผู้รับบริการ
2.1   ศูนย์การจัดการด้านอุบัติเหตุและฉุกเฉิน (Trauma & Emergency Management Center: TEMC)
พัฒนาระบบบริการด้านอุบัติเหตุและฉุกเฉินให้มีความพร้อมตามมาตรฐานโรงพยาบาลตติยภูมิ เป็นแม่ข่ายศูนย์การดูแลผู้ป่วยของจังหวัดอุบลราชธานีต้อนล่าง มีการบูรณาการทุกภาคส่วนในพื้นที่เป็นภาคีเครือข่ายมุ่งเน้นความสำเร็จในการเข้าถึงบริการที่รวดเร็ว ครอบคลุม และเป็นศูนย์การบริการด้านอุบัติเหตุในระดับ 3 ตามแผนการพัฒนาระบบบริการ (Service Plan) ของเขตสุขภาพที่ 10 โดยดำเนินการ ดังนี้
2.1.1 จัดตั้งหน่วย Trauma & Emergency Administration Unit ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข เพื่อดำเนินการด้านการบริหาร การบริการ และสารสนเทศ อย่างเป็นระบบ มีบทบาทในการดำเนินการ ดังนี้
-       ประสานการทำงานผ่านระบบ DHS ในการบูรณาการทุกภาคส่วนในการจัดการปัญหาสุขภาพ อุบัติเหตุจราจร และการรับมือสาธารณภัย อย่างมีส่วนร่วม
-       พัฒนาระบบการเฝ้าระวังอุบัติเหตุทางถนน โดยเชื่อมโยงหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องผ่านศูนย์ความปลอดภัยทางถนน มุ่งเน้นการทำงานอย่างต่อเนื่องตลอดปีเพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุทางถนนโดยเฉพาะในจุดเสี่ยง ประสานความร่วมมือระดับท้องถิ่นในการรณรงค์ด้านวินัยจราจรและการลดปัจจัยเสี่ยงเช่นการดื่มแอลกอฮอล์
-       พัฒนาระบบบริการช่องทางด่วนในกลุ่มโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง เชื่อมโยงเครือข่ายกู้ชีพและ Member Club เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการเข้าถึงผู้ป่วย
-       พัฒนาระบบสารสนเทศข้อมูลทางการแพทย์ เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการรักษาและวิจัยพัฒนากระบวนการอย่างเป็นระบบ โดยเน้นแนวทางการพัฒนา
-       ระบบฐานข้อมูลและการรายงานแบบเชื่อมโยงระดับ รพ.สต. สสอ.และโรงพยาบาลให้เป็นฐานข้อมูลที่เชื่อถือได้และใช้ประโยชน์ด้านสถิติวิเคราะห์เพื่อวางแผนการป้องกันและลดอุบัติเหตุ
-       ระบบฐานข้อมูลที่เชื่อมต่อกับฝ่ายปกครองในการสื่อสารข้อมูลพื้นฐานด้านที่อยู่อาศัย อาชีพ ครอบครัว ตลอดจนข้อมูลการเกิด การบาดเจ็บและเสียชีวิต
-       ข้อมูลประวัติการรักษาที่สามารถส่งต่อระหว่างสถานพยาบาลเพื่อความต่อเนื่องของการรักษา
-       พัฒนาสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของหน่วยงานด้านอุบัติเหตุ ให้มีความทันสมัยปลอดภัยสูง มีการบริการเป็นสัดส่วนชัดเจน โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้และอำนวยความสะดวกในการติดตามอาการของผู้ป่วยและญาติ ลดความสับสนและวิตกกังวล
 
2.1.2 พัฒนาศักยภาพบุคลากรทั้งด้านอัตรากำลังและความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วย
-       เพิ่มอัตรากำลังแพทย์ในสาขาศัลยกรรมทั่วไป, ศัลยกรรมออโธปิดิกส์, เวชศาสตร์ฉุกเฉิน สาขาละ 4-6 คน ประสาทศัลยแพทย์ 2-3 คน ภายในปี พ.ศ.2563 โดยให้ทุนแพทย์ไปศึกษาต่อเฉพาะทางตามแผนยุทธศาสตร์
-       เพิ่มอัตรากำลังอายุรแพทย์ทั่วไป เป็นจำนวน 6-10 คน ภายในปี พ.ศ.2563 เพื่อเพิ่มศักยภาพการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ โดยให้ทุนแพทย์ไปศึกษาต่อเฉพาะทางตามแผนยุทธศาสตร์ หรือขอความช่วยเหลือด้านอัตรากำลังจากโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
-       เพิ่มอัตรากำลังในสายวิชาชีพสำคัญหลักสูตร 4 เดือน เช่น พยาบาลวิชาชีพในห้องฉุกเฉิน, เวชกิจฉุกเฉิน พนักงานขับรถ และเพิ่มศักยภาพพยาบาลเฉพาะทางฉุกเฉิน (ENP) เป็น 12 คน ภายในปี พ.ศ. 2563 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินทั้งด้านการดูแลก่อนถึงโรงพยาบาล ระหว่างนำส่ง ที่ห้องฉุกเฉิน และการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลอื่น
 
2.1.3 พัฒนาระบบการประสานการรับส่งผู้ป่วยและการดูแลก่อนถึงโรงพยาบาลให้เพียงพอ มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่บริการ
-       สร้างเสริมศักยภาพและจำนวนหน่วยบริการกู้ชีพในชุมชน ให้มีจำนวนเพียงพอ อย่างน้อยตำบลละ 1 หน่วย (รวม 16 ตำบล) ภายในปี พ.ศ. 2563 โดยอาศัยความร่วมมือจาหน่วยงานท้องถิ่น และมีการทบทวน เสริมสร้าง และสนับสนุนด้านวิชาการจากโรงพยาบาล ทำให้งานบริการด้านการส่งต่อและดูแลผู้ป่วยก่อนถึงโรงพยาบาลมีความรวดเร็วและปลอดภัย
-       พัฒนาระบบการแจ้งเหตุและศูนย์สั่งการในกรณีผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินให้มีความรวดเร็ว โดยอาศัยระบบโลจิสติกมาพัฒนาต่อยอดกระบวนการ Member Club ของโรงพยาบาล พัฒนาฐานข้อมูลด้านภูมิศาสตร์โดยอาศัยความร่วมมือกับประชาชนในท้องที่ เพื่อให้เข้าถึงผู้ป่วยและที่เกิดเหตุได้รวดเร็ว
-       พัฒนาระบบบริการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารทางไกลระบบOnline เพื่อเชื่อมโยงการรักษาตั้งแต่จุดเกิดเหตุ ถึงโรงพยาบาลและการส่งต่อ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแล การบริหารจัดการทีมและเตรียมความพร้อมก่อนผู้ป่วยถึงโรงพยาบาล ลดขั้นตอนการบริการให้มีความคล่องตัวสูง เพื่อให้เกิดผลการรักษาที่ดีและปลอดภัย
 
2.2 ศูนย์การดูแลโรคมะเร็งเดชอุดม (Detudom Cancer Center: DUCC)
พัฒนาระบบบริการด้านผู้ป่วยมะเร็งให้มีความพร้อมตามมาตรฐานโรงพยาบาลตติยภูมิ เป็นแม่ข่ายศูนย์การดูแลผู้ป่วยของจังหวัดอุบลราชธานีต้อนล่าง มีการบูรณาการทุกภาคส่วนในพื้นที่เป็นภาคีเครือข่ายมุ่งเน้นความสำเร็จในทุกมิติบริการ ตั้งแต่การลดปัจจัยเสี่ยง การคัดกรอง การรักษา และการฟื้นฟู มุ่งเน้นกลุ่มมะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก จนเป็นศูนย์การบริการด้านโรคมะเร็งระดับ 3 ตามแผนการพัฒนาระบบบริการ (Service Plan) ของเขตสุขภาพที่ 10 โดยดำเนินการ ดังนี้
 
2.2.1 พัฒนาศักยภาพบุคลากรทั้งด้านอัตรากำลังและความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วย
-       เพิ่มอัตรากำลังแพทย์ในสาขาศัลยกรรมทั่วไปและวิสัญญีแพทย์ สาขาละ 4-6 คน ภายในปี พ.ศ. 2563 โดยให้ทุนแพทย์ไปศึกษาต่อเฉพาะทางตามแผนยุทธศาสตร์
-       จัดหาแพทย์เฉพาะทางต่อยอดในสาขามะเร็งทางนรีเวชวิทยาและมะเร็งทางออโธปิดิกส์ เพื่อขยายบริการผ่าตัดรักษาโรคมะเร็ง โดยให้ทุนแพทย์ไปศึกษาต่อหรือขอความร่วมมือจากโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
-       เพิ่มวิสัญญีพยาบาล หลักสูตร 1ปี และพยาบาลเฉพาะทางปริศัลยกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผ่าตัดรักษา
-       พัฒนาพยาบาลเฉพาะทางหลักสูตร 4 เดือน เช่น พยาบาลเฉพาะทางมะเร็ง พยาบาลเฉพาะทางเคมีบำบัด พยาบาลเฉพาะทางบาดแผลและรูเปิดทวารเทียม (Ostomy Nurse) สาขาละ 2-3 คน ภายในปี พ.ศ. 2563 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยให้ยาเคมีบำบัดและฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีรูทวารเทียม
-       เพิ่มศักยภาพและอัตรากำลังเภสัชกรรมคลินิกในสาขาเคมีบำบัดและการเตรียมยา จำนวน 3 คน ภายในปี 2562
 
2.2.2 พัฒนาศักยภาพการด้านการรักษาแบบครบวงจร โดยมุ่งเน้นการผ่าตัดและการให้ยาเคมีบำบัดเบื้องต้น ประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานีและโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ในการส่งต่อการรักษาที่มีความซับซ้อน
-       พัฒนาห้องผ่าตัด หอผู้ป่วยวิกฤติ (ICU) และธนาคารเลือด ให้มีความพร้อมรองรับการผ่าตัดรักษาที่มีความซับซ้อน นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการอำนวยความสะดวกและลดความวิตกกังวลในระหว่างเข้ารับการรักษา สร้างบรรยากาศการบริการแบบเป็นมิตร (Friendly Hospital)
-       จัดตั้งหน่วยบริการให้ยาเคมีบำบัดที่เป็นสัดส่วน อย่างน้อย 4-6 เตียง ภายในปี 2560 เพื่อให้การรักษาโรคมะเร็งด้วยการใช้ยาเคมีบำบัด จัดสถานที่ให้ยาเคมีบำบัดมีความผ่อนคลาย ปลอดภัย ให้บริการด้วยหลักจิตปัญญาและหัวใจความเป็นมนุษย์
-       สร้างความร่วมมือด้านการรักษามะเร็งด้วยการฉายรังสีร่วมกับโรงพยาบาลมะเร็งอุบล โดยวางแนวทางการรักษาและส่งต่อผู้ป่วยต่อเนื่องแบบพันธสัญญา มีศูนย์ประสานงานเพื่ออำนวยความสะดวกในการประสานงานเพื่อรับการรักษาระหว่างโรงพยาบาล
 
2.2.3 สร้างกระบวนการรณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยงและคัดกรองโรคมะเร็งสำคัญ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปากมดลูก
-       พัฒนาความร่วมมือกับท้องถิ่น บริการปฐมภูมิในการรณรงค์และคัดกรองเบื้องต้น
-       ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ เช่น Ultrasound, Mammogram, CT,EGD,Colonoscope ในการตรวจวินิจฉัยยืนยัน
 
2.3 ศูนย์การตรวจวินิจฉัยด้วยการส่องกล้อง (Detudom Endoscopic Center: DEC)
พัฒนาบริการตรวจวินิจฉัยรักษาและรักษาผ่านกล้องที่ทันสมัย ปลอดภัย ลดการบาดเจ็บ ฟื้นตัวเร็ว มุ่งเน้นในกลุ่มหัตถการส่องกล้องเพื่อการวินิจฉัยภาวะผิดปกติของทางเดินอาหาร การคัดกรองและวินิจฉัยโรคมะเร็งด้วยการส่องกล้อง รวมทั้งสร้างทางเลือกให้ผู้รับบริการในรูปแบบของบริการพิเศษ (Premium Service) ที่สร้างความเชื่อมั่นและพึงพอใจสูงสุด
2.3.1 พัฒนาศักยภาพบุคลากรทั้งด้านอัตรากำลังและความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วย
-       เพิ่มอัตรากำลังแพทย์ในสาขาศัลยกรรม สูตินรีแพทย์และวิสัญญีแพทย์ สาขาละ 4-6 คน ภายในปี พ.ศ. 2563 และมีทักษะในการตรวจวินิจฉัยผ่านกล้องที่มีความทันสมัยและปลอดภัย
-       พัฒนาศักยภาพและทักษะของพยาบาลหน่วยส่องกล้อง ผ่านการฝึกอบรมระยะสั้นด้านการส่องกล้องวินิจฉัยทุกคน ภายในปี พ.ศ. 2563 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ
 
2.3.2 จัดตั้งศูนย์ส่องกล่องเพื่อการวินิจฉัยและรักษา (Detudom Endoscopic Center: DEC) ภายในปี พ.ศ. 2560 ซึ่งมีมาตรฐานการดูแลรักษา การบริหาร การบริการ เป็นที่เชื่อมั่นและไว้วางใจของผู้รับบริการ ตามแนวทาง
-       จัดรูปแบบบริการที่เป็นมิตรต่อผู้รับบริการและบุคลากร (Friendly Hospital) มีสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อสร้างความประทับใจ ให้บริการที่ปลอดภัยและประทับใจด้วยหลักจิตปัญญาและหัวใจความเป็นมนุษย์ จนเป็นที่ไว้วางใจของผู้รับบริการในเขตบริการและพื้นที่ใกล้เคียง
-       จัดสิ่งแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการแพทย์ที่เอื้อต่อการวินิจฉัย การรักษา ให้ความรู้ มีผลสัมฤทธิ์ที่ดี เป็นที่เชื่อมั่นของผู้รับบริการ
-       เพิ่มจำนวนและชนิดของกล้องส่องตรวจและรักษา เช่น ERCP, Cystoscope, colposcope เป็นต้น เพิ่มประสิทธิภาพและขอบเขตการรักษาให้ครอบคลุมรายโรคสำคัญ
-       จัดตั้งศูนย์นัดหมายบริการโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดบริการ การกำหนดนัดหมาย ที่มีความยืดหยุ่นและเข้าถึงง่าย
-       พัฒนาระบบบริการทั่วไปให้ครอบคลุมทั่วถึง และพัฒนาระบบบริการพิเศษ (Premium Service) เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้รับบริการ โดยเฉพาะกลุ่มผู้รับบริการที่มีกำลังจ่ายและสิทธิเบิกได้
 
2.4 ศูนย์ความเชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ (Detudom Bone & Joint Center: DBJC)
พัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ป่วยทางออร์โธปิดิกส์ ให้มีความครอบคลุมและต่อเนื่องในทุกมิติ ทั้งด้านการวินิจฉัย การรักษา การผ่าตัดรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ มุ่งเน้นในกลุ่มการผ่าตัดกระดูกสันหลัง การผ่าตัดเปลี่ยนข้อ
2.4.1 จัดตั้งศูนย์ความเชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ (Detudom Bone & Joint Center: DBJC) ภายในปี พ.ศ. 2563 มุ่งเน้นมาตรฐานการการบริการตรวจรักษา ผ่าตัด การฟื้นฟูสมรรถภาพและการดูแลต่อเนื่อง เป็นที่เชื่อมั่นและไว้วางใจของผู้รับบริการ ตามแนวทาง
 
-       จัดรูปแบบบริการที่เป็นมิตรต่อผู้รับบริการและบุคลากร (Friendly Hospital) มีสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อสร้างความประทับใจ ให้บริการที่ปลอดภัยและประทับใจด้วยหลักจิตปัญญาและหัวใจความเป็นมนุษย์ จนเป็นที่ไว้วางใจของผู้รับบริการในเขตบริการและพื้นที่ใกล้เคียง   
-       จัดสิ่งแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการแพทย์ที่เอื้อต่อการวินิจฉัย การรักษา ให้ความรู้ มีผลสัมฤทธิ์ที่ดี เป็นที่เชื่อมั่นของผู้รับบริการ
-       พัฒนาระบบการจัดการวัสดุทางการแพทย์และอวัยวะเทียมราคาสูง โดยอาศัยความร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดหาและบริหารจัดการการใช้อย่างเป็นระบบ
-       เพิ่มศักยภาพการรักษาด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยตอบ เช่น Arthroscope, Microscope, รวมทั้งการจัดหาเครื่องมือและวัสดุอวัยวะเทียม (Prosthesis) ที่มีคุณภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาให้ดีขึ้น
-       จัดตั้งศูนย์นัดหมายบริการโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดบริการ การกำหนด      นัดหมาย ที่มีความยืดหยุ่นและเข้าถึงง่าย
-       พัฒนาระบบบริการทั่วไปให้ครอบคลุมทั่วถึง และพัฒนาระบบบริการพิเศษ (Premium Service) เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้รับบริการ โดยเฉพาะกลุ่มผู้รับบริการที่มีกำลังจ่ายและสิทธิเบิกได้
2.4.2 พัฒนาศักยภาพบุคลากรทั้งด้านอัตรากำลังและความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วย
-       เพิ่มอัตรากำลังแพทย์ในสาขา ศัลยแพทย์ออโธปิดิกส์ สาขาละ 4-6 คน ภายในปี พ.ศ. 2563 และมีความสามารถในการผ่าตัดรักษา การผ่าตัดเปลี่ยนข้อ
-       เพิ่มศักยภาพพยาบาลเฉพาะทางออร์โธปิดิกส์ และพยาบาลฟื้นฟู  สาขาละ 2-3 คน ภายในปี พ.ศ. 2563 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์
-       เพิ่มศักยภาพด้านการฟื้นฟู โดยมีแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู 1-2 คน, นักกายภาพบำบัด 
8-10 คน นักกิจกรรมบำบัด และนักกายอุปกรณ์ สาขาละ 3-4 คน ภายในปี พ.ศ. 2563 เพื่อให้การบำบัดฟื้นฟูสภาพหลักการผ่าตัดรักษา
2.4.3 พัฒนาระบบบริการที่มีการเชื่อมโยงแบบปลอดภัยไร้รอยต่อ (Seamless One & Safety) ตั้งแต่กระบวนการเข้าถึงการรักษา จนถึงการบำบัดฟื้นฟูในชุมชน โดยอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานและภาคีเครือข่าย
-       พัฒนาระบบการดูแลต่อเนื่องผ่านทีม COC ให้มีความครอบคลุม เชื่อมโยงการดูแลต่อเนื่องกับชุมชน สนับสนุนด้านองค์ความรู้และทักษะให้กับผู้ดูแล
-       จัดตั้งศูนย์กายอุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนงานด้านการฟื้นฟูและสามารถผลิตกายอุปกรณ์ให้ผู้ป่วยในพื้นที่ได้
2.5 ศูนย์บริการอนามัยแม่และเด็กเดชอุดม (Detudom Maternal & Child Health Center: DMCH)
พัฒนาระบบบริการด้านอนามัยแม่และเด็ก ด้านพัฒนาการของเด็กปฐมวัย มุ่งเน้นการบริการด้านสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และการวินิจฉัยความผิดปกติของทารกในครรภ์ บริการด้านสุขภาพของทารกแรกเกิดครบวงจรจนเป็นศูนย์การบริการด้านทารกแรกเกิดระดับ 3 ตามแผนการพัฒนาระบบบริการ (Service Plan) ของเขตสุขภาพที่ 10 รวมทั้งการพัฒนาระบบบริการด้านพัฒนาการของเด็กปฐมวัย อายุ 0-5 ปี
2.5.1 พัฒนาศักยภาพบุคลากรทั้งด้านอัตรากำลังและความเชี่ยวชาญในการดูแลมารดา ทารกและเด็กปฐมวัย
-       เพิ่มอัตรากำลังกุมารแพทย์รวม 4-6คน และสาขาต่อยอดทารกแรกเกิด 1-2 คน ภายในปี พ.ศ. 2563 โดยให้ทุนแพทย์เพื่อศึกษาต่อระยะเวลา 2 ปี
-       พัฒนาอัตรากำลังในสายวิชาชีพสำคัญด้านทารกแรกเกิด หลักสูตร 4 เดือน เช่น พยาบาลเฉพาะทางทารกแรกเกิด สาขาละ 1-2 คน พยาบาลเฉพาะทางทารกแรกเกิดวิกฤติ 6-8 คน ภายในปี พ.ศ. 2563 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยทารกแรกเกิดทั่วไปและทารกแรกเกิดวิกฤติ
-       พัฒนาอัตรากำลังในสายวิชาชีพสำคัญด้านพัฒนาการ หลักสูตร 4 เดือน เช่น พยาบาลเฉพาะทางการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก นักจิตวิทยา เป็นต้น
2.5.2 จัดตั้งคลินิกการวินิจฉัยภาวะผิดปกติของทารกด้วยการเจาะตรวจน้ำคร่ำ (PNDclinic) เพื่อเจาะน้ำคร่ำคัดกรองหาความผิดปกติทางโครโมโซมลดการเกิดทารกผิดปกติหรือพิการ
2.5.3 พัฒนาหน่วยบริการด้านทารกแรกเกิด ตามมาตรฐานของโรงพยาบาลตติยภูมิ เพื่อเป็นศูนย์การรักษาด้านทารกแรกเกิดในระดับ 3 ตามแผนการพัฒนาระบบบริการ (Service Plan) ของเขตสุขภาพที่ 10
-       เปิดบริการหอผู้ป่วยทารกวิกฤติ (NICU) จำนวน 6-8 เตียง และขยายบริการหอผู้ป่วยทารกเสี่ยงสูง (High Risk Newborn) ภายในปี พ.ศ. 2563 เพื่อให้การรักษาทารกแรกเกิดที่มีภาวะวิกฤติและเป็นปัญหาสำคัญของโรงพยาบาล
-       มีการจัดพื้นที่บริการที่เป็นมิตร มุ่งเน้นมาตรฐานด้านความปลอดภัยให้กับมารดาและทารก เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกต่อมารดาและญาติเมื่อเข้ามารับบริการ
-       เพิ่มศักยภาพการดูแลผู้ป่วยทารกแรกเกิดเสี่ยงสูงและวิกฤติ โดยเพิ่มทรัพยากรและเครื่องมือที่ทันสมัย เช่น Incubator, Transport Incubator, Monitor, Newborn Ventilator เพื่อเพิ่มศักยภาพการรักษา ลดอัตราการส่งต่อและเพิ่มผลการรักษาที่ดีจนเป็นที่ไว้เชื่อถือวางใจของประชาชน
2.5.4 พัฒนาระบบบริการด้านพัฒนาการในเด็กปฐมวัย อายุ 0-5 ปี ลดปัญหาด้านพัฒนาการและเชื่อมโยงเครือข่ายครอบครัว สังคม ร่วมแก้ปัญหาด้านพัฒนาการในชุมชน
-       เปิดบริการศูนย์พัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียน ให้บริการส่งเสริม ตรวจรักษาและกระตุ้นพัฒนาการในเด็กก่อนวัยเรียน ภายในปี พ.ศ. 2563
-       จัดพื้นที่บริการให้เป็นสัดส่วนชัดเจน สิ่งแวดล้อมเป็นมิตรกับเด็กและญาติ
-       สร้างเครือข่ายชุมชนเข้มแข็งในการคัดกรองและร่วมกระตุ้นพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียนอย่างต่อเนื่องที่ชุมชน โดยโรงพยาบาลสนับสนุนด้านองค์ความรู้
 
 
2.6 ศูนย์รักษ์ไตเดชอุดม (Detudom Kidney Care: DKC)
พัฒนาบริการด้านการรักษานิ่วไตซึ่งพบมากในพื้นที่บริการ และการรักษาภาวะไตวายทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง เป็นศูนย์การบริการโรคไตระดับ 2 ตามแผนการพัฒนาระบบบริการ (Service Plan) ของเขตสุขภาพที่ 10 มีผลการรักษาที่ดีจนสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจ
2.6.1 เพิ่มศักยภาพการรักษาโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ เน้นการคัดกรองนิ่วและให้การรักษาเพื่อป้องกันการเกิดภาวะไตวาย โดย
-       เพิ่มอัตรากำลังแพทย์สาขา ศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ 1-2 คน ภายในปี พ.ศ. 2563 โดยให้ทุนแพทย์เพื่อศึกษาต่อระยะเวลา 4 ปี 
-       เพิ่มศักยภาพบุคลากรห้องผ่าตัดและวิสัญญีวิทยา ให้มีความชำนาญด้านการรักษาโรคระบบทางเดินปัสสาวะและตอบสนองบริการที่เพิ่มมากขึ้น
-       เพิ่มศักยภาพด้านเครื่องมือและครุภัณฑ์ทางการแพทย์โดยจัดซื้อจัดจ้างเองหรือร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดบริการ  เช่น กล้องตรวจรักษาทางเดินปัสสาวะ, เครื่องมือผ่าตัดต่อมลูกหมาก, เครื่องมือขบและคล้องนิ่ว
2.6.2 เพิ่มศักยภาพการดูแลผู้ป่วยไตวาย ให้สามารถรักษาได้ครบวงจร
-       เพิ่มอัตรากำลังอายุรแพทย์ทั่วไป 6-10 คน และสาขาต่อยอดอายุรศาสตร์โรคไต 1-2 คน ภายในปี พ.ศ. 2563 โดยให้ทุนแพทย์เพื่อศึกษาต่อระยะเวลา 2 ปี หรือขอความช่วยเหลือด้านอัตรากำลังจากโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
-       พัฒนาอัตรากำลังพยาบาลเฉพาะทางล้างไตทางช่องท้อง (PD nurse) หลักสูตร 4 เดือน จำนวน 3-5 คน และพยาบาลเฉพาะทางไตเทียม(HD nurse) หลักสูตร 4 เดือน จำนวน1-2 คน ภายในปี พ.ศ. 2563 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยไตวายร่วมกับศูนย์ไตเทียม
-       เพิ่มอัตรากำลังบุคลากรเพื่อสนับสนุนการบริการ เช่น โภชนากร โภชนะบำบัด เพื่อเพิ่มศักยภพการดูแลผู้ป่วยไตวาย
-       ขยายศูนย์ไตเทียมรองรับบริการที่เพิ่มขึ้น เป้าหมาย 20 เครื่อง ภายในปี 2563 โดยอาศัยการร่วมทุนกับภาคเอกชน
 
2.7   ศูนย์การรักษาโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ (Cerebrovascular & Cardiovascular Care Center: CCC)”
พัฒนาบริการตรวจวินิจฉัยรักษาและรักษาโรคหลอดเลือดสมองเป็นศูนย์การบริการโรคหลอดเลือดสมองระดับ 3 ตามแผนการพัฒนาระบบบริการ (Service Plan) ของเขตสุขภาพที่ 10 สามารถเข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็ว ให้การวินิจฉัยด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถให้การรักษาและให้ยาละลายลิ่มเลือดได้อย่างปลอดภัย ลดอัตราการเกิดความพิการและภาวะแทรกซ้อน มีผลการรักษาที่สร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจ
2.7.1 ศักยภาพการรักษาภาวะสมองขาดเลือด
-       เพิ่มอัตรากำลังแพทย์สาขาอายุรกรรมทั่วไป 6-10คน, ประสาทวิทยา 1-2 คน ภายในปี พ.ศ. 2563 โดยให้ทุนแพทย์เพื่อศึกษาต่อระยะเวลา 4 ปี
-       เพิ่มศักยภาพพยาบาลเฉพาะทางสาขาการดูแลผู้ป่วยระบบประสาทวิทยาและประสาทศัลยศาสตร์ และการดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง (Stroke) หลักสูตร 4 เดือน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง
-       เพิ่มศักยภาพด้านเครื่องมือและครุภัณฑ์ทางการแพทย์โดยจัดซื้อจัดจ้างเองหรือร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดบริการ 
-       จัดตั้งหอผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง (Stroke Unit) เพื่อรอรับศักยภาพการรักษาที่มีความซับซ้อน
2.7.2 ศักยภาพการรักษาภาวะสมองขาดเลือด
-       เพิ่มอัตรากำลังแพทย์สาขาประสาทศัลยศาสตร์ 1-2 คน ภายในปี พ.ศ. 2563 โดยให้ทุนแพทย์เพื่อศึกษาต่อระยะเวลา 5 ปี
-       เพิ่มศักยภาพพยาบาลเฉพาะทางสาขาการดูแลผู้ป่วยระบบประสาทวิทยาและประสาทศัลยศาสตร์ หลักสูตร 4 เดือน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง
-       เพิ่มศักยภาพบุคลากรห้องผ่าตัดและวิสัญญีวิทยา ให้มีความชำนาญในการผ่าตัดรักษาหลอดเลือดสมอง เพื่อตอบสนองบริการที่เพิ่มมากขึ้น
-       เพิ่มศักยภาพด้านเครื่องมือและครุภัณฑ์ทางการแพทย์โดยจัดซื้อจัดจ้างเองหรือร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดบริการ 
-       จัดตั้งหอผู้ป่วยวิกฤติด้านระบบประสาท (ICU Neurosurgery) ภายในปี 2563 เพื่อรอรับศักยภาพการผ่าตัดและการรักษาที่มีความซับซ้อน
 
นโยบายและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม ปี ๒๕๕๙ - ๒๕๖๐